Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/561
Title: PERCEPTIONS OF PUBLIC RELATIONS INFORMATION THROUGH ONLINE MEDIA AND THE IMAGE OF BURAPHA UNIVERSITY FROM THE PERSPECTIVE OF BURAPHA UNIVERSITY STUDENTS
การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์กับภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพา ในมุมมองของนิสิต
Authors: Narinrud Amchang
นลินรัตน์ อ่ำช้าง
KANGWAN FONGKAEW
กังวาฬ ฟองแก้ว
Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การรับรู้
การเปิดรับข่าวสาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์
Perception
News exposure
public relations
IMAGE
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the perception of public relations through online media and the image of Burapha University in the perspective of students; 2) to compare the perception of public relations through online media by classified demographic characteristics; 3) to compare the image of Burapha University in the perspective of students by classified demographic characteristics; 4) to study the relationship between perception of public relations and image in the perspective of students through quantitative and survey research. In the study, the investigators distributed questionnaires to 396 users as the sample size using cluster sampling. The research instruments used were closed-ended and open-ended questionnaires. The researchers selected frequency, percentage, mean, standard deviation, t-Test, one-way ANOVA, and Pearson's correlation to analyze the data. Results of the research as follows 1) the channels with the highest exposure were Facebook Pag, and has a under good level of perspective on the overall image of Burapha University ( = 3.44) 2) Students with different characteristics have different perceptions of news releases through online media. Different ages and years of students study different levels of perception of press releases through online media. With statistical significance at the .05 level, first-year students aged 18 – 20 years had higher levels of perception of press releases through online media than other groups. 3) Students with different characteristics causing different perspectives on the image of Burapha University Different ages and years of study students have different perspectives on the image of Burapha University. With statistical significance at the .01 level, first year students aged 18 – 20 years had better views of Burapha University than other groups. 4) The perception of press releases was associated with the image of Burapha University. The frequency and level of interest in the type of information were positively correlated with the image (r = .249 and .487) with statistical significance at the .01 level. Which would indicate that perception and exposure behavior are related to the image of the organization, because if any organization uses media or public relations to be appropriate for the context of the media development in many forms in line with modern times The content and interesting contents are up-to-date. It will surely cause a lot of awareness and exposure. This will inevitably result in a good image for the organization both directly and indirectly. Because the image can be formed, it is necessary to rely on the image, sound, content, and various subject matter to arise in the minds of the recipients of the information.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของนิสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ จำแนกตามลักษณะทางประชากร 3) เพื่อเปรียบเทียบมุมมองภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาของนิสิต จำแนกลักษณะทางประชากร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ในมุมมองของนิสิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 396 ชุด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิด สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสหสัมพันธ์แบบ Pearson’s correlation ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการรับรู้ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Facebook เพจมหาวิทยาลัยบูรพามากที่สุด และมีมุมมองเกี่ยวกับภาพลักษณ์ภาพรวมของมหาวิทยาลัยบูรพาในระดับค่อนข้างดี 2) นิสิตที่มีลักษณะทางประกรแตกต่างกันทำให้การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์แตกต่างกัน โดยอายุและชั้นปีที่นิสิตศึกษาที่ต่างกันทำให้ระดับการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งนิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ที่มีอยุระหว่าง 18 – 20 ปี มีระดับการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 3) นิสิตที่มีลักษณะทางประกรแตกต่างกันทำให้มีมุมมองภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน โดยอายุและชั้นปีที่นิสิตศึกษาที่ต่างกันทำให้มีมุมมองภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งนิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ที่มีอยุระหว่าง 18 – 20 ปี มีมุมมองภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ 4) การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา โดย ความถี่และระดับความสนใจประเภทข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพภาพลักษณ์ (r = .249 และ .487) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าการรับรู้และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ เนื่องจากว่า หากองค์กรใดมีการใช้สื่อหรือการประชาสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสื่อที่มีการพัฒนาไปในหลากหลายรูปแบบ ตรงตามยุคสมัยนิยม มีการสร้างเนื้อหาและสาระที่น่าสนใจอันทันสมัย ก็ย่อมที่จะทำให้มีการรับรู้และพฤคิกรรมการเปิดรับที่มาก อันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะภาพลักษณ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็จำเป็นที่จะอาศัยภาพ เสียง เนื้อหา สาระต่าง ๆ ให้เกิดในความคิดของผู้รับข้อมูลข่าวสารต่อไป
Description: Master Degree of Communication Arts (M.Com.Arts)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/561
Appears in Collections:Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920335.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.