Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/478
Title: FACTORS INFLUENCING DECISION ON THE ONLINE PURCHASING THROUGH E-COMMERCE IN CHONBURI PROVINCE
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี
Authors: Siyarat Dumrongwachirapong
ศิญารัตน์ ดำรงค์วชิรพงศ์
SOMBAT THAMRONGSINTHTHAWORN
สมบัติ ธำรงสินถาวร
Burapha University. Faculty of Management and Tourism
Keywords: การรับรู้ความเสี่ยง
ความไว้วางใจ
ปัจจัยทางการตลาด
การตั้งใจซื้อ
ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
PERCEIVED RISK
TRUST
MARKETING FACTORS
E-COMMERCE
Issue Date:  22
Publisher: Burapha University
Abstract: The aim of this research is to study the factors that Influence the level of decision on the online purchasing through e-commerce in chonburi province including with the level of Perceived Risk, Turst and Marketing Mix. Quantitative method was used in this research. The self-administration questionnaires were completed by buyer products via e-commerce system in Chonburi Province. Respondents were selected using quota sampling of Chonburi province population ratio. The quantitative research found that the opinions of buyer products via e-commerce system on Financial risk, Delivery risk, Law risk, Trust (expertise), Trust (integrity), Cost saving, Time saving, Convenience, Variety of products and Data quality of products were at the highest level. The Product risk was at a high level. The hypothesis test showed that next to the factors of Perceived Risk from Product risk, Delivery risk, Law risk, also the factor of Trust from Trust (integrity), and the factors of Marketing mix from Cost saving, Convenience, Variety of products influence decision on the online purchasing through e-commerce in chonburi province, While The factors of Perceived Risk from Financial risk, also the factor of Trust from Trust (expertise) and the factors of Marketing mix from Time Saving and Data quality of products didn’t influence decision on the online purchasing through e-commerce in chonburi province.   
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ระดับการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ และปัจจัยทางการตลาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่สนใจใช้บริการ หรือเคยใช้บริการซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า แบ่งสัดส่วนประชากรตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี มีระดับความคิดเห็นเรื่องการรับรู้ความเสี่ยงในด้านการเงิน ความเสี่ยงที่เกิดจากการขนส่ง ความเสี่ยงที่เกิดจากกฎหมาย ความไว้วางใจด้านความเชี่ยวชาญ ความไว้วางใจด้านความซื่อสัตย์ ด้านการประหยัดต้นทุน ด้านการประหยัดเวลา ด้านความสะดวกสบาย ด้านความหลากหลาย ด้านคุณภาพของข้อมูลสินค้า และความตั้งใจซื้อ อยู่ในระดับมากที่สุด และการรับรู้ความเสี่ยงด้านสินค้าอยู่ในระดับมาก    ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงในด้าน การรับรู้ความเสี่ยงด้านสินค้า การรับรู้ความเสี่ยงที่เกิดจากการขนส่ง การรับรู้ความเสี่ยงที่เกิดจากกฎหมาย ตัวแปรความไว้วางใจในด้านความซื่อสัตย์ และตัวแปรปัจจัยทางการตลาดใน ด้านการประหยัดต้นทุน ความสะดวกสบาย และความหลากหลายของสินค้า มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี ขณะที่การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ความไว้วางใจด้านความเชี่ยวชาญ การประหยัดเวลา และคุณภาพของข้อมูลสินค้า ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดชลบุรี
Description: Master Degree of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/478
Appears in Collections:Faculty of Management and Tourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60920139.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.