Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/910
Title: Guilin City Cultural Landscape Identity : Integrating Creative Cultural Product Design
อัตลักษณ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองกุ้ยหลิน : การบูรณาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์
Authors: Qin Junhui
QIN JUNHUI
PONGDEJ CHAIYAKUT
พงศ์เดช ไชยคุตร
Burapha University
PONGDEJ CHAIYAKUT
พงศ์เดช ไชยคุตร
pongdej.ch@buu.ac.th
pongdej.ch@buu.ac.th
Keywords: ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกุ้ยหลิน
ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
วิธีการประเมิน
แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
Guilin Cultural Landscape
Creative Cultural Products
Integration and Innovation
Evaluation Method
Design Approach for Innovative Cultural Products
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: The integration of cultural landscape elements in Guilin's regional culture into creative design of cultural products is a method of incorporating Guilin's unique natural and cultural landscapes into creative design of cultural products. Through in-depth exploration of Guilin's regional culture, historical traditions, and ethnic customs, combined with modern cultural and creative concepts and multi-sensory scientific design, innovative designs for cultural products can be created to make them more distinctive and attractive. This article analyzes the existing cultural and creative products in Guilin, organizes their product design ideas, and uses typical cases of integrating Guilin cultural landscape elements into cultural and creative design as a starting point to explore the design patterns of Guilin cultural and creative products. It is analyzed that the design of cultural and creative products should be based on local cultural resources, and the development conditions of applying Guilin cultural resources to the design of Guilin cultural and creative products should be clarified. Secondly, the study of Guilin tourism cultural and creative products is conducted from the perspective of product creative design, and systematic analysis and summary are conducted from the perspectives of questionnaire analysis of audiences, research methods, design principles, innovation points of research, and specific creative design methods. Design a multi-sensory cultural and creative product design concept that is in line with Guilin's regional culture. Through the production practice of transforming creative works into cultural and creative products, the evaluation of the project by experts, and the cultural resource research of Guilin's cultural and creative products, the creativity and design, development and demonstration of cultural and creative products show that the development model of local characteristic tourism cultural and creative products is worth learning, and has certain practical significance in the preservation, inheritance and promotion of ethnic culture.
การนำองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมประจำภูมิภาคของเมืองกุ้ยหลินบูรณาการสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์เป็นวิธีการออกแบบโดยนำภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของกุ้ยหลินบูรณาการร่วมกับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ โดยผ่านการศึกษาลงลึกถึงวัฒนธรรมประจำภูมิภาค ปัจจัยดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์และประเพณีพื้นเมืองของกุ้ยหลิน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ผสมผสานร่วมกับแนวคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสมัยใหม่และการออกแบบสื่อพหุประสาทสัมผัสโดยอิงตามหลักความเป็นวิทยาศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมด้วยเทคนิควิธีเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมเอกลักษณ์และเสน่ห์ดึงดูดที่โดดเด่นยิ่งขึ้นให้กับตัวผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ซึ่งงานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยเริ่มต้นจากการวิจัยกรณีศึกษาแบบอย่างในการนำองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมของกุ้ยหลินบูรณาการสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ผ่านการศึกษา เรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกุ้ยหลินที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงแนวคิดที่ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จากนั้นจึงดำเนินการศึกษาค้นคว้าแม่แบบการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกุ้ยหลินในเชิงลึก ซึ่งจากการวิเคราะห์ทำให้ค้นพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ควรอิงตามทรัพยากรวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ทั้งยังควรมีการศึกษาทำความเข้าใจและแจกแจงเงื่อนไขการพัฒนาต่ออดสำหรับการใช้ทรัพยากรวัฒนธรรมของกุ้ยหลินในการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกุ้ยหลินให้ชัดเจน ต่อมา ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวของกุ้ยหลินจากมุมมองด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ โดยดำเนินการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลทั้งแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ  วิธีการวิจัย หลักการออกแบบ ประเด็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านการวิจัย ตลอดจนวิธีการออกแบบเชิงสร้างสรรค์จำเพาะอย่างเป็นระบบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบสื่อพหุประสาทสัมผัสที่มีคุณลักษณะสอดรับกับวัฒนธรรมประจำภูมิภาคของกุ้ยหลิน แล้วจึงดำเนินการทดลองสร้างสรรค์ผลงานภาคปฏิบัติโดยเปลี่ยนแนวคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จากนั้นจึงนำผลงานเข้ารับการประเมินของโดยผู้เชี่ยวชาญ แสดงให้เห็นถึงต้นแบบการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวที่โดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การอ้างอิงศึกษา ทั้งยังมีความหมายในเชิงปฏิบัติสำหรับการอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชนชาติโดยผ่านการศึกษาค้นคว้าและสำรวจทรัพยากรวัฒนธรรมของผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์กุ้ยหลิน ทั้งการวิจัยด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาต่อยอดและการลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานเพื่อพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/910
Appears in Collections:Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62810041.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.