Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/885
Title: INCREASING THE EFFICIENCY OF PRODUCTS STORED IN THE WAREHOUSE: A CASE STUDY OF AN ELECTRICAL APPLIANCE COMPANY 
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า: กรณีศึกษาบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า
Authors: Rungthiwa Mesila
รุ่งทิวา หมีสิลา
THANYAPHAT MUANGPAN
ธัญภัส เมืองปัน
Burapha University
THANYAPHAT MUANGPAN
ธัญภัส เมืองปัน
thanyaphat@buu.ac.th
thanyaphat@buu.ac.th
Keywords: คลังสินค้า/ เครื่องใช้ไฟฟ้า/ สินค้า
WAREHOUSE/ MAJOR APPLIANCE/ PRODUCTS
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aims to study the current situation of storing electrical appliances in a company's warehouse and proposes ways to enhance the efficiency of this storage. The goal is to optimize space management, reduce unnecessary storage of slow-moving or outdated products, and address the disorganized storage currently causing employee delays in retrieving goods. The study focuses on eight types of large electrical appliances stored in the warehouse: refrigerators, top-load washing machines, front-load washing machines, freezers, air conditioners, dishwashers, dryers, and ovens. ​                       Findings revealed that the traditional storage methods lacked specificity, and an analysis showed that the newly proposed method significantly reduced the time required to prepare goods for storage. Specifically, the average preparation time decreased by 66 minutes per container, a 40.49 percent reduction. Moreover, the value of slow-moving products decreased from 19.2 percent of the total stock value in June 2023 to 13.3 percent in august 2023, indicating a 5.9 percent reduction from the previous month.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดเก็บสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในคลังสินค้าบริษัทกรณีศึกษา และเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในคลังสินค้าบริษัทกรณีศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสม สามารถลด การจัดเก็บสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้าและเกินความจำเป็น ซึ่งพบว่า ในสภาพปัจจุบันของคลังสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการจัดเก็บที่ไม่มีรูปแบบและไม่ระเบียบเรียบร้อย ทำให้การหยิบสินค้าของพนักงานล่าช้า นอกจากนั้น การจัดเก็บสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า อายุการผลิตนานในคลังสินค้ามีปริมาณสูง และ เกินความจำเป็น ดังนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการกำหนดวิธีดำเนินการงานวิจัยและกรอบการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ศึกษาสภาพในปัจจุบัน กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัย ศึกษาทบทวนเอกสาร วรรณกรรม ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลและข้อเสนอแนะ โดยประชากร คือ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยมีประเภทของสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บในคลังสินค้า ทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่  ตู้เย็น เครื่องซักผ้าฝาบน เครื่องซักผ้าฝาหน้า ตู้แช่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องล้างจาน เครื่องซักอบผ้า และเครื่องอบผ้า                        ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การจัดวางสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเดิม ไม่มีรูปแบบการจัดวางสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แน่นอน และเมื่อมีการวิเคราะห์แนวทางการจัดวางสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเดิม ใช้ระยะเวลาดำเนินการเตรียมสินค้า รูปแบบเดิมใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเตรียมสินค้า 163 นาทีต่อตู้คอนเทรนเนอร์ โดยการจัดวางสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า รูปแบบการนำเสนอใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเตรียมสินค้า 97 นาทีต่อตู้คอนเทรนเนอร์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบพบแล้ว ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยลดลง 66 นาทีต่อตู้คอนเทรนเนอร์ คิดเป็นร้อยละ 40.49 จากนั้นจะเห็น ได้ว่า มูลค่าการจัดเก็บสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้าลดลง จากเดิมมูลค่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าสต๊อกสินค้าทั้งหมด หลังจากดำเนินการโดยมูลค่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้ผลเป็นร้อยละ 13.3 ของมูลค่าสต๊อกสินค้าทั้งหมด ซึ่งลดลงจากเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นร้อยละ 5.9 ของมูลค่าสต๊อกสินค้าทั้งหมด
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/885
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64920756.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.