Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/848
Title: Jingdezhen Ceramic Music Culture: The Role of Educational Institutions and Community Museums for Inheritance
วัฒนธรรมดนตรีเซรามิกเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น: บทบาทของสถาบันการศึกษาและพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสืบทอด
Authors: Jing Chen
JING CHEN
JANTANA KHOCHPRASERT
จันทนา คชประเสริฐ
Burapha University
JANTANA KHOCHPRASERT
จันทนา คชประเสริฐ
jantanakh@buu.ac.th
jantanakh@buu.ac.th
Keywords: วัฒนธรรมดนตรีเครื่องเคลือบ
ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและพิพิธภัณฑ์ชุมชน
การจัดการวัฒนธรรม
การสืบทอด
Porcelain music culture
Cooperation between educational institutions and community museums
Cultural management
Inheritance
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: This research has three objectives: first, to study the development of Jingdezhen ceramic musical instruments and the succession process in the period 1980-2023; second, to analyze the current situation of cultural studies. ceramic music in Jingdezhen and the cooperation model among educational institutions, museums, and communities. Third, to find ways to manage ceramic music culture. Through the form of participation between educational institution Museum and community This research used quantitative research methods and qualitative research methods. There are surveys and data collection from the field. There are in-depth interviews with experts and porcelain craftsmen. music expert Museum administrator Students and government and private agencies By using the information that has been analyzed. To study the relationship with the relevant environmental context. Used to design guidelines for developing the process of organizing projects and activities to inherit the porcelain music culture. Results of studies over the past four decades Found community movement in Jingdezhen that has continued to develop porcelain that is unique to the local area. This process could result in reliance on physical resources of kaolin upon for Ceramic music culture. historical resources Archaeological site, ancient kilns, ceramics museum Haihunhou Museum Music teachers and the wisdom of craftsmen passed on to future generations of craftsmen. They all have been applied in the field of ceramic music. creating guidelines for organizing teaching and learning Organizing specific activities Interagency cooperation and innovation in music The government and local agencies recognize the importance of using museum space. and educational institutions are a platform for continuing music culture for people in the community and those interested. In this regard, it has been concluded that the past approaches are three strategies for managing the culture of porcelain music: "ICI" I- Integration, meaning the integration of music, art, history, digital media, and coordination of craftsmen. cultural administration C-Cooperation Refers to cooperation between networks to accumulate experience Proactive "practical" and I-Increase means increasing training space. Expression space and virtual space in the online world as an alternative for inheriting ceramic music culture in the present era. Organizing experiences that connect educational institutions, museums, and communities is still a challenge and should not be stagnant; it should be replicated to expand participation areas. The management of the cultural space helps the community to realize the potential of the porcelain music culture that can be applied in teaching and learning management which is not limited to Jingdezhen City.
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1)เพื่อศึกษาพัฒนาการของเครื่องดนตรีเซรามิกเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นและกระบวนการสืบทอดที่เป็นอยู่ในช่วงเวลา ค.ศ. 1980-2023 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีเซรามิกในจิ่งเต๋อเจิ้นและรูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาพิพิธภัณฑ์และชุมชน 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการวัฒนธรรมดนตรีเซรามิก ผ่านรูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่าง สถาบันการศึกษา พิพิธภัณฑ์และชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสำรวจและการเก็บข้อมูลจากภาคสนาม มีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ ช่างฝีมือทำเครื่องลายคราม ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี ผู้บริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ นักศึกษาและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยนำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์บริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง นำมาออกแบบแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดโครงการและกิจกรรมสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีเครื่องลายคราม ผลการศึกษาในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา พบความเคลื่อนไหวชุมชนในจิ่งเต๋อเจิ้นได้ต่อยอดงานเครื่องเคลือบลายครามที่เป็นอัตลักษณเฉพาะของท้องถิ่น นำไปสู่วัฒนธรรมดนตรีเครื่องเคลือบ โดยกระบวนการดังกล่าวอาศัยทรัพยากรทางกายภาพของดินเกาหลิน ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี เตาเผาโบราณ พิพิธภัณฑ์เครื่องเคลือบ พิพิธภัณฑ์ไห่หุนโหว ครูดนตรีและภูมิปัญญาของช่างฝีมือที่สืบทอดให้ช่างฝีมือรุ่นหลัง ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านดนตรีเซรามิก ก่อให้เกิดแนวทางการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเฉพาะทาง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและนวัตกรรมด้านดนตรี  ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นเล็งเห็นความสำคัญในการใช้พื้นที่พิพิธภัณฑ์ และสถาบันการศึกษาเป็นเวทีในการสืบสานวัฒนธรรมดนตรีให้คนในชุมชนและผู้สนใจ  ทั้งนี้ได้ข้อสรุปแนวทางที่ผ่านมาเป็นกลยุทธ์ในการจัดการวัฒนธรรมดนตรีเครื่องเคลือบได้  3  กลยุทธ์  คือ  "ICI" I- Integration หมายถึงการบูรณาการข้ามศาสตร์ดนตรี ศิลปะ ประวัติศาสตร์  สื่อดิจิตัล การประสานช่างฝีมือ การบริหารงานวัฒนธรรม C-Cooperation หมายถึงความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อสั่งสมประสบการณ์ "เชิงปฏิบัติ"เชิงรุก และ I-Increase หมายถึงการเพิ่มพื้นที่การฝึกอบรม พื้นที่การแสดงออกและพื้นที่เสมือนจริงในโลกออนไลน์เพื่อเป็นทางเลือกในการสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีเซรามิกในยุคปัจจุบัน ซึ่งการจัดประสบการณ์การเชื่อมต่อระหว่างสถาบันการศึกษา พิพิธภัณฑ์ และชุมชนยังเป็นเรื่องท้าทายและไม่ควรหยุดนิ่ง ควรได้รับผลิตซ้ำขยายพื้นที่การมีส่วนร่วม ทั้งนี้การจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมช่วยทำให้ชุมชนตระหนักถึงศักยภาพของวัฒนธรรมดนตรีเครื่องเคลือบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/848
Appears in Collections:Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63810070.pdf13.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.