Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/831
Title: Living Color Book: Aesthetics Dunhuang Color Chart from the Mogao Grottoes Murals in Dunhuang to the Application of Color in the Management of Cultural Products
ตำราสีที่มีชีวิต: สุนทรียศาสตร์ Dunhuang Color chart จากงานภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำโม่เกาในหมู่ถ้ำตุนหวง สู่การประยุกต์ใช้สีในการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
Authors: Liu Shuwen
LIU SHUWEN
PUVASA RUANGCHEWIN
ภูวษา เรืองชีวิน
Burapha University
PUVASA RUANGCHEWIN
ภูวษา เรืองชีวิน
puvasa@buu.ac.th
puvasa@buu.ac.th
Keywords: ภาพจิตรกรรมฝาผนังหมู่ถ้ำตุนหวง
ตำราสีที่มีชีวิต
วัฒนธรรมสี
การจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
ระบบสี CNCSCOLOR
รหัสสี
Murals in Mogao Grottoes of Dunhuang
Living Color Book
Color culture
Cultural product management
CNCSCOLOR colour system
Color codes
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: The Mogao Grottoes in Dunhuang, a UNESCO World Cultural Heritage site, record every stage of the spread of Buddhism in China and preserve many sculptures and ancient murals of historical research value. In recent years, under the background of vigorously advocating the protection and development of cultural heritage worldwide, the relevant cultural and creative design works on the theme of Mogao Grottoes have become more and more abundant. However, the colours used in these design works are somewhat arbitrary and need more unified norms and standards. At the same time, through the collection and collation of a large number of literature materials, the researchers also found that the academic research on the colour of the murals in Mogao Grottoes stayed in the fields of colour science, material science and aesthetics, so far, there are few studies on the relationship between the colour of the murals and modern design. Under this premise, this paper selects 42 of the most representative murals from the Sui Dynasty and the Tang Dynasty, uses the qualitative research method and the quantitative research experiment method, refers to the CNCSCOLOR gamut analysis system of China Popular Color Association, extracts the representative colours of the murals according to the three major themes of the contents of the murals, and designs the reference colour card. At the end of this paper, they used a set of different Dunhuang cultural and creative products designed with colour cards and colour-matching styles. This study combines colour science with traditional Chinese colour culture, finds out the colour-matching characteristics of the murals of Mogao Grottoes in Dunhuang through image analysis, and creates a Dunhuang colour model with unique cultural characteristics according to the collated standard colour card, and uses this colour model to guide the modern Dunhuang cultural and creative design. In different colour-matching scenes, each age group, consumer class, the use of the scene can choose their own colour "coding" only to achieve accurate dissemination, which can effectively hit the target consumer group's heart demands. This paper proves that the colour symbols in Mogao Grottoes are highly consistent with modern aesthetics by colour extraction and analysis to establish more possibilities for protecting and developing cultural heritage.
ถ้ำโม่เกาหมู่ถ้ำตุนหวงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกที่บันทึกทุกขั้นตอนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีนและเก็บรักษาประติมากรรมและภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่มีคุณค่าต่อการวิจัยทางประวัติศาสตร์เอาไว้เป็นจำนวนมาก  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายใต้บริบทของการที่ทั่วโลกเริ่มส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอย่างจริงจัง จึงทำให้งานออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับถ้ำโม่เกามีมากมายหลากหลายขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้วิจัยกลับพบว่าสีที่ใช้ในการออกแบบผลงานเหล่านี้ค่อนข้างเป็นแบบตามความพอใจและขาดบรรทัดฐานและมาตรฐานที่เป็นเอกภาพ ในเวลาเดียวกัน จากการจัดการรวบรวมเอกสารด้านประวัติศาสตร์ นักวิจัยยังพบว่าการวิจัยทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสีของภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำโม่เกานั้นโดยภาพรวมแล้วยังจำกัดขอบเขตอยู่ที่การศึกษาเรื่องสี วัสดุ และสุนทรีศาสตร์เท่านั้น จนถึงตอนนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสีของภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำโม่เกากับการออกแบบสีสมัยใหม่ยังค่อนข้างน้อย จากเงื่อนไขดังที่กล่าวมาข้างต้น งานวิจัยฉบับนี้ได้คัดเลือกผลงานภาพจิตรกรรมฝาผนังตัวแทนในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังมากที่สุดถึง 42 ภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยการอ้างอิงถึงระบบการวิเคราะห์สี CNCSCOLOR ของสมาคมแฟชั่นสีแห่งประเทศจีน ตามเนื้อหาของภาพจิตรกรรมฝาผนังสามประเด็นหลัก สกัดสีภาพจิตรกรรมฝาผนังตัวแทนออกมา และออกแบบชาร์ตสีเพื่อใช้ในการอ้างอิง และสุดท้ายได้ดำเนินการออกแบบตัวอย่างผลลัพธ์การจับคู่สีตุนหวงเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบัน   งานวิจัยฉบับนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมสีกับสุนทรียศาสตร์จีน เพื่อค้นหาลักษณะการจับคู่สีภาพจิตรกรรมฝาผนังโม่เกาหมู่ถ้ำตุนหวงจากการวิเคราะห์เชิงประติมานวิทยา แบบจำลองสีตุนหวงที่มีลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรม  จากการเรียบเรียงชาร์ตสีมาตรฐาน แบบจำลองสีตุนหวงที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ได้ถูกสร้างขึ้น และใช้แบบจำลองสีนี้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตุนหวงในยุคปัจจุบัน ภายใต้บริบทของการจับคู่สีที่แตกต่างกัน ทุกกลุ่มอายุ ชนชั้นผู้บริโภค และฉากทัศน์การใช้งานสามารถเลือก “รหัส” สีของตนเองได้ มีเพียงการเผยแพร่ที่แม่นยำเท่านั้นจึงจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีการสกัดสีและการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ว่าสีสัญลักษณ์ที่หลงเหลืออยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำโม่เกายังคงรักษาความเป็นเอกภาพในระดับสูงกับสุนทรียศาสตร์ของคนในยุคปัจจุบันเอาไว้ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ที่มากยิ่งขึ้นในการอนุรักษ์และการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/831
Appears in Collections:Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62810015.pdf18.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.