Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/782
Title: PREDICTORS OF PREVENTIVE BEHAVIORS FOR CORONAVIRUS DISEASE 2019 AMONG EARLY ADOLESCENTS
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น
Authors: Ausaniyaphon Chantorn
อุษณียาภรณ์ จันทร
PHOTJANART SARAPAT
พจนารถ สารพัด
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรค
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
วัยรุ่นตอนต้น
PREVENTIVE BEHAVIORS
CORONAVIRUS DISEASE 2019
EARLY ADOLESCENTS
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: Coronavirus 2019 is a communicable disease that requires surveillance in all age groups including early adolescents. These adolescents may have behaviors that pose a risk of infection and spreading the infection to others. This predictive correlational research aimed to examine predicting factors of preventing COVID-19 among early adolescents. A simple random sampling was used to recruit 356 students from grades 7–9, aged 13–15 years studying in an extra-large school in Amphoe Mueang, Suphanburi Province. Data were collected from August to September 2022. The research instruments consisted of the demographic record form, the knowledge of COVID-19 questionnaire, the attitudes towards COVID-19 questionnaire, the social support questionnaire, the perceived self-efficacy for preventing COVID-19 questionnaire, and the preventive behaviors for COVID-19 questionnaire. These questionnaires yielded Cronbach’s alpha of .77, .73, .91, .88, and .82, respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression were employed for data analyses.                       The results showed that perceived self-efficacy for preventing COVID-19, social support, knowledge of COVID-19 and attitude towards COVID-19 could together predict preventive behaviors for COVID-19 in these adolescents for 31.0 % (R2 = .310, p < .01). Perceived self-efficacy for preventing COVID-19 was the best predictor (β = .340, p < .001), followed by social support (β = .272, p < .001), attitudes towards COVID-19 (β = .148, p < .01), and knowledge of COVID-19 (β = .134, p < .01), respectively.                       These findings suggested that nurses and health personnels should promote preventive behaviors for COVID-19 in early adolescents by emphasizing on the enhancement of their self-efficacy, social support and positive attitude towards preventing COVID-19 in order to prevent COVID-19.
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในทุกกลุ่มวัย รวมทั้งวัยรุ่นตอนต้นที่อาจมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 อายุระหว่าง 13 – 15 ปี ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 1 โรงเรียน ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 356 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่นตอนต้นและบิดามารดาหรือผู้ปกครอง แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้ค่าความเชื่อมั่นครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .77, .73, .91, .88 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                        ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค การสนับสนุนทางสังคม ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้นได้ร้อยละ 31.0 (R2 = .310, p < .01) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (β = .340, p < .001) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (β = .272, p < .001) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (β = .148, p < .01) และความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (β = .134, p <.01) ตามลำดับ                        ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น โดยเน้นเพิ่มการรับรู้ความสามารถในตนเอง ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/782
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920176.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.