Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/775
Title: Predicting factors of multiple risk behaviors among male adolescents in Lopburi province
ปัจจัยทำนายพหุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นชาย จังหวัดลพบุรี
Authors: Monluedee Kawsiso
มลฤดี แก้วสีโส
PORNNAPA HOMSIN
พรนภา หอมสินธุ์
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: วัยรุ่นชาย
พฤติกรรมเสี่ยง
พหุพฤติกรรมเสี่ยง
Adolescents
Risk-taking behavior
Multiple risk behaviors
Issue Date:  9
Publisher: Burapha University
Abstract: Risk behaviors among adolescents including alcohol drinking, smoking, sexual behavior and violence have increased and become an important public health problem in Thai society. This predictive correlation design aimed to identify multiple risk behaviors and to examine the factors related to multiple risk behaviors among male adolescents in Lopburi province. The Theory of Triadic Influence (TTI) was used as a conceptual framework. A total sample was 318 male higher secondary school students.   Self-administered questionnaires collected data on demographic (age, education and academic achievement) peer influence, stress, attitude towards risk behaviors, risk behavior refusal self-efficacy and family attachment questionnaires. Their reliability were between 0.69-0.95. Data were analyzed by using descriptive statistics and Binary logistic regression. The results of the study revealed that the prevalence of multiple risk behaviors was 50 %. The significant factors influencing multiple risk behaviors among male adolescents were attitude towards risk behaviors (AOR = 12.63, 95 % CI = 6.47-24.68), risk behavior refusal self-efficacy (AOR = 4.10, 95 % CI = 2.10-8.00), peer influence (AOR = 3.04, 95 % CI = 1.51-6.12), and academic achievement (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.01-3.78). The results of the study serve as a guideline for community nurse practitioner and people who involved to developed an effectively multiple risk-behavior preventive program focusing on enhancing appropriated attitude towards risk behavior and, risk behavior refusal self-efficacy  for Thai male adolescents.
การมีพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น ทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การมีเพศสัมพันธ์ และการใช้ความรุนแรง กลายเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทย  การศึกษานี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพหุพฤติกรรมเสี่ยง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพหุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นชาย จังหวัดลพบุรี โดยใช้ทฤษฎีอิทธิพลสามทางเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล (อายุ, ระดับการศึกษา และรายได้ของครอบครัว) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน ความเครียด ทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.69-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติกส์ (Binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพหุพฤติกรรมเสี่ยง ร้อยละ 50.0 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพหุพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ ทัศนคติต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยง (AOR = 12.63, 95 % CI = 6.47-24.68) การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง (AOR = 4.10, 95 % CI = 2.10-8.00) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (AOR = 3.04, 95 % CI = 1.51-6.12) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.01-3.78)  ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการป้องกันการมีพหุพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการเสริมสร้างทัศนคติที่เหมาะสมและมีการรับรู้สมรรถแห่งตนในการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยง สำหรับวัยรุ่นชายไทย
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/775
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60920052.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.