Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/767
Title: FACTORS PREDICTING INTENTION TO EXCLUSIVE BREASTFEEDING AMONG MOTHERS WITH CESAREAN SECTION AT A PRIVATE HOSPITAL, BANGKOK METROPOLIS
ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Sitanan Wannasen
ศิตานันท์ วรรณเสน
SIRIWAN SANGIN
ศิริวรรณ แสงอินทร์
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว/ ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง/ ความตั้งใจ/ ทัศนคติ/ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง/ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม/ ประสบการณ์/ โรงพยาบาลเอกชน
EXCLUSIVE BREASTFEEDING/ CESAREAN SECTION/ INTENTION/ ATTITUDE/ SUJECTIVE NORM/ PERCEIVED BEHAVIORAL CONTROL/ PRIVATE HOSPITAL
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Mothers who had a cesarean section in a private hospital had an unsuccessful exclusive breastfeeding. Intention to exclusive breastfeeding is one of predictors of exclusive breastfeeding. Determining the predicting factors of exclusive breastfeeding intention helps plan for promoting exclusive breastfeeding intention and exclusive breastfeeding for 6 months. This predictive research aimed to study the intention to exclusive breastfeeding and the factors predicting the intention to exclusive breastfeeding among mothers with cesarean sections at a private hospital, Bangkok metropolis. The sample were 150 mothers with cesarean section who admitted at a private hospital, Bangkok Metropolis between February and June 2021. Data were collected by demographic and obstetrics questionnaire, the Breastfeeding Intention Questionnaire, the Breastfeeding Attitude Questionnaire, the Breastfeeding Subjective Norm Questionnaire, and the Breastfeeding Perceive Behavioral Control Questionnaire. The reliabilities of questionnaires were .88, .80, .84 and .85, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. Results showed that the subjects had a hight level of intention to exclusive breastfeeding (M = 11.83, SD = 3.19). The factors capable of significantly predicting the subjects’ intention to exclusive breastfeeding were breastfeeding attitude (β  = .219), breastfeeding subjective norm (β = .157), breastfeeding rerceived behavioral control (β = .175), and breastfeeding experience (β = .483), with a combined predictive power accounting for 37.2 % of the subjects’ intention to exclusive breastfeeding (F(5.676) = 24.431, p < .001)   The results of this study suggested that nurses should assess breastfeeding attitude, breastfeeding subjective norm, breastfeeding rerceive behavioral control, and breastfeeding experience; and develop nursing program to promote intention to exclusive breastfeeding for 6 months among mothers with cesarean sections in a private hospital. This will result in these mothers being able to exclusive breastfeed for 6 months.
มารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่ประสบความสำเร็จ ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว การศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวางแผนในการส่งเสริมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง พักฟื้นที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จำนวน 150 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบสอบถามความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .80, .84 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความตั้งใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อยู่ในระดับสูง (M = 11.83, SD = 3.19) ปัจจัยที่สามารถทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (β = .219) บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  (β = .157) การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม (β = .175) และประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  (β = .483) โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าเดียวของมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องได้ร้อยละ 37.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(5.676) = 24.431, p < .001)   ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรมีการประเมินทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพัฒนาโปรแกรมในการส่งเสริมความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจะส่งผลทำให้มารดากลุ่มนี้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนต่อไป
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/767
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920152.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.