Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/748
Title: FACTORS RELATED TO FALLS EFFICACY AMONG OLDER ADULTS WITH  BREAST CANCER
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านม
Authors: Kanyabhorn Lekdum
กัญญ์ภรณ์ เหล็กดำ
NAIYANA PIPHATVANITCHA
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัย/ การรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม/ ผู้สูงอายุ/ มะเร็ง
FACTORS/ FALL EFFICACY/ OLDER ADULTS/ CANCER
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Fall efficacy among older adults is common and affects cancer treatment among older adults with breast cancer. This research is descriptive correlation research aimed to study factors related to fall efficacy among older adults with breast cancer. The sample of 97 older adults with breast cancer, who followed up at Phrapokkloa Hospital, was selected by sample random sampling. The research instrument personal data interview, Perceived health status, Geriatric Depression Scale [GDS], Barthel ADL Index [BAI], Perceived severity of cancer, Fatigue, Categorical numerical rating scales [NRS], The Modified Fall Efficacy Scale [MFES], and Perceived balance of abilities. Analyzed relationship by Point – biserial correlation coefficient and Spearman rank-order correlation coefficient. The results revealed that the majority of the sample had fall efficacy status was high (76.29%) Perceived balance of abilities Barthel ADL Index and perceived health status was moderated positive correlated (rs=.621, p<.001, rs= .373, p< .001, rs=.353, p<.01) age and fatigue was moderated negatively correlated (rs= -522, p<.001, rs=-.406, p<.001) breast cancer treatment was low positive correlation (rpb=.252, p<.001) pain and dizziness was low negatively correlated (rs=-.234, p=.011, rs= -190, p=.011) with fall efficacy among older adults with breast cancer at levels of .05. Fall experience, depression, stage of cancer, numbness of the hands and feet and perceived severity of cancer were not statistically significant to fall efficacy among older adults with breast cancer at levels of .05. Health care providers should emphasize older adults with breast cancer. Especially perceived health status, balance of abilities, dizziness and fatigue. Research results used for developing clinical nursing guidelines for older adults with cancer.
การรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุพบได้บ่อยและส่งผลต่อการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการบรรยายความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านม  กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลพระปกเกล้า 97 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุ แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็ง แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการทรงตัว วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหพันธ์พอยไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ ออเดอร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความมั่นใจในการทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 76.29) การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน  และการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (rs=.621, p<.001, rs=.373, p<.001, rs=.353, p<.001 ตามลำดับ) อายุ อาการเหนื่อยล้า มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (rs=-522, p<.001, rs=-.406, p<.001 ตามลำดับ) วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (rpb=.252, p<.001) อาการปวด และประสบการณ์การหกล้ม มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (rpb=-.234, p=.011, rs=-190, p=.011 ตามลำดับ) กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประสบการณ์การหกล้ม ภาวะซึมเศร้า ระยะของโรคมะเร็ง อาการมือและหรือเท้าชา และการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็ง ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะผู้ที่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้การทรงตัวที่ไม่ดี เวียนศีรษะ และอาการเหนื่อยล้า โดยสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างแนวทางการดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็ง
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/748
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920259.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.