Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/740
Title: EFFECTS OF USING CONTENT-BASED INSTRUCTION ON ENGLISH LANGUAGE OF MATTAYOM 2 STUDENTS
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
Authors: Kanchanakorn Suebruang
กัญจนกร สืบเรือง
PARINYA THONGSORN
ปริญญา ทองสอน
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การสอนแบบเนื้อหาเป็นฐาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ความพึงพอใจของนักเรียน
CBI
SATISFACTION OF STUDENTS
LEARNING ACHIVEMENT
CONTENT-BASED INSTRUCTION
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to compare learning achievement between before and after learning with activities based on content-based instruction , 2) to compare the knowledge of herbs between before and after learning with activities based on content-based instruction 3) to study the satisfaction of students with  learning activities based on content-based instruction. The research samples were 30 Mathayom 2 students at Bansuandomwitthaya School during the first semester of 2022, selected by cluster random sampling. The research instruments were: 5 lesson plans, English language achievement test, Herbal knowledge test, The measure of student satisfaction. The one group pretest – posttest design was used in the study. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test (dependent sample) The research findings were as follows: 1. The posttest mean scores of learning achievement after learning with activities based on content-based instruction were statistically significantly higher than the pretest mean scores at the .05 level. 2. The posttest mean scores of herbal knowledge after learning with activities based on content-based instruction were statistically significantly higher than the pretest mean scores at the .05 level. 3. The satisfaction of students after learning with activities based on content-based instruction was at highest level. (X̅= 4.74, SD = 0.45)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษก่อนกับหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) เปรียบเทียบความรู้ด้านสมุนไพรก่อนกับหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน  แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเป็นเวลา 10 ชั่วโมง 2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ 3)  แบบทดสอบวัดความรู้ด้านสมุนไพร ก่อนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ใช้การประเมินตามสภาพจริงโดยใช้แบบประเมินในลักษณะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) ของลิเคิร์ท (Likert’s Scale) จำนวน 16 ข้อ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง One Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test dependent)                                                                                ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Herb เรื่อง Herb for stomach, Herb for muscle, Herb for fever & cough, Herb for health, Herb for apply. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ความรู้ด้านสมุนไพรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                              3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเนื้อหาเป็นฐาน พบว่า ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก ( X̅= 4.74, SD = 0.45)
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/740
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63910111.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.