Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/692
Title: Factors related to falls efficacy in older adults with hypertension
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
Authors: Chutikan Ngamsangiem
ชุติกานต์ งามเสงี่ยม
NAIYANA PIPHATVANITCHA
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัย/ การรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม/ ความดันโลหิตสูง/ ผู้สูงอายุ
FACTORS/ FALLS EFFICACY/ HYPERTENSION/ OLDER ADULTS
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Low of falls efficacy is common and could potentially cause daily activity restriction and hypertension uncontrol among hypertensive older adults. The objective of this descriptive correlation research aimed at to study falls efficacy and factors related to falls efficacy among older adults with hypertension. The simple random sampling technique was used to identify the sample of 158 older adults with hypertension who visited Ban Wang Chan subdistrict health promoting hospital in Rayong province. The demographic questionnaire, Thai Geriatric Depression Scale [TGDS-15], Questionnaires of Perceived health status, Charlson comorbidity index [CCI], Perceived orthostatic hypotension, Perceived visual ability, Perceived balance ability, Chula ADL index [CAI], and the Thai modified falls efficacy scale [TMFES] (Revised edition) were the research instruments. According to the data analysis, the majority of the sample had a high level of falls efficacy (x = 3.51, SD = 0.53), the results of the Spearman rank order and the point-biserial correlation coefficient analysis revealed that factors had moderate negatively correlation with falls efficacy among hypertensive older adults at a level of .01 included perceived orthostatic hypotension and depression (rs = -.464, p < .001; rs = -.359, p < .001 respectively). Factors having moderate positively correlation with falls efficacy among older adults at level of .01 included perceived balance ability, chula ADL index, and perceived visual ability (rs = .462, p < .001; rs = .383, p < .001; rs = .333, p < .001 respectively), having low negatively correlation with falls efficacy among older adults included age, falls experience and dizziness (rs = -.175, p = .014; rs = -.169, p = .017; rbp = -.137, p = .043 respectively). However, perceived health status, gender, disease comorbidity and antihypertensive drug groups were not statistically significant in relation to falls efficacy among older adults with hypertension at level of .05. (rs = .096, p = .114; rbp = -.073, p = .360; rs = -.066, p = .206; rs = .044, p = .291 respectively). The findings recommend that healthcare providers should recognize falls efficacy among older adults with hypertension, especially persons who have older age, previous fall experience, perceived orthostatic hypotension, impaired perceived visual and balance, inability daily routines, and depression. Providers might apply these results as the basic knowledge for developing clinical nursing practice guidelines or nursing interventions to promote falls efficacy among this group.
การรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มอยู่ในระดับต่ำ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำกัดการทำกิจกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้ การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 158 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินภาวะโรคร่วม แบบสัมภาษณ์การรับรู้อาการความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการมองเห็น แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว แบบประเมินดัชนีจุฬาเอดีแอล และแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มฉบับภาษาไทย (ฉบับปรับปรุง) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มอยู่ในระดับสูง (x = 3.51, SD = 0.53) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ ออเดอร์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การรับรู้อาการความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า และภาวะซึมเศร้า (rs = -.464, p < .001; rs= -.359, p < .001 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อน และการรับรู้ความสามารถในการมองเห็น (rs = .462, p < .001; rs = .383, p < .001; rs = .333, p < .001 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ ได้แก่  อายุ ประสบการณ์การหกล้ม และอาการเวียนศีรษะ (rs = -.175, p = .014; rs = -.169, p = .017; rbp = -.137, p = .043 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพ เพศ ภาวะโรคร่วม และประเภทของกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = .096, p = .114; rbp = -.073, p = .360; rs = -.066, p = .206; rs = .044, p = .291 ตามลำดับ) บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมาก เคยมีประสบการณ์การหกล้ม มีการรับรู้อาการความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า มีการรับรู้ความสามารถในการมองเห็นและการทรงตัวไม่ดี ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อนได้ และมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งบุคลากรควรใช้ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวปฏิบัติหรือโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงต่อไป
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/692
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920261.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.