Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/681
Title: IMPACTS OF THE EASTERN ECONOMIC CORRIDOR INNOVATION (EECi) DEVELOPMENT ON PEOPLE’S QUALITY OF LIFE IN PA YUP NAI SUB-DISTRICT, WANG CHAN DISTRICT, RAYONG.
ผลกระทบจากการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ต่อประชาชนในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
Authors: Rukchanok Mahasaksawat
รักชนก มหาศักดิ์สวัสดิ์
AUSANAKORN TAVAROM
อุษณากร ทาวะรมย์
Burapha University. Graduate School of Public Administration
Keywords: ผลกระทบ
เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
คุณภาพชีวิต
EASTERN ECONOMIC CORRIDOR OF INNOVATION
IMPACT
QUALITY OF LIFE
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aims to study the positive and negative impacts of the Eastern Economic Corridor Innovation (EECi) Development project on people in Pa Yup Nai Sub-District, Wang Chan District, Rayong, and analyze the problem, limitations, and recommendations for improving the quality of life of the surrounding communities according to the goals of the EECi Development project. Serving as qualitative research, it features 15 informants. 7 of them came from an in-depth interview, consisting of leaders or chiefs of staff from the local area, public offices, and independent social activity organizations in the concerned area. 4 of them are local people in the area who lived there before the launch of the project and worked for it, while the other 4 are those who lived in the area but never worked for the project. The 8 people were selected from a group discussion. Furthermore, data were collected from observations. Analysis was done by verifying the accuracy of information with triangulation regarding the data themselves and the data collection. The results can be summarized as follows: 1) In terms of the positive impacts of the Eastern Economic Corridor Innovation (EECi) Development project on people in Pa Yup Nai Sub-District, Wang Chan District, Rayong, there are 6 aspects, namely improved community infrastructure, increasing income of the people, increasing recruitment, ongoing support for traditional values, culture and customs, strengthened local community leaders, existing civil society to follow up on the project’s work, and public interests which enjoy cooperation and negotiation to solve public problems between local community leaders and the project’s staff. Negative impacts, on the other hand, included environmental issues, such as garbage management, water management, and water quality; and 2) Problems and limitations of improving the quality of local community life include the fact that the development of the quality of people’s life does not cover the entire Pa Yup Nai sub-district, and the existing public relations of the project are not yet thorough. Recommendations for improving the quality of life of the surrounding communities concern educational support, support for the development of agricultural technology, increasing the employment of people in the area, doing public relations about the progress of the project's operations and launching a public hearing for opinions from people of every village in Pa Yup Nai sub-district, and integrating cooperation between relevant agencies in solving environmental problems and developing infrastructure.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่มีต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง และเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะ ของการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบตามเป้าหมายของโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด จำนวน 15 คน แบ่งออกเป็น เก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ หน่วยงานหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ และการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนมีการพัฒนาโครงการฯ และเคยทำงานกับโครงการฯ จำนวน 4 คน และ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนมีการพัฒนาโครงการฯ และไม่เคยทำงานกับโครงการฯ จำนวน 4 คน นอกจากนี้ มีการสังเกตการณ์เพื่อเก็บข้อมูลด้วย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล และด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ (1) ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่มีต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง พบว่า เกิดผลกระทบเชิงบวก จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงพื้นฐานของชุมชนโดยรอบได้รับการพัฒนา ด้านรายได้ของประชาชาชนในชุมชนโดยรอบเพิ่มขึ้น ด้านอาชีพ เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ด้านค่านิยมและวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมของชุมชนได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้านบทบาทของกลุ่มอำนาจที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินโครงการฯ ผู้นำระดับท้องที่ มีความเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มของภาคประชาชนเพื่อติดตามการดำเนินการของโครงการฯ และด้านการจัดสรรผลประโยชน์สาธารณะ เกิดการประสานงาน การเจรจาต่อรอง เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน ระหว่างผู้นำระดับท้องที่และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาด้านการจัดการขยะ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ คุณภาพของน้ำ (2) ปัญหา ข้อจำกัด ของการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบฯ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบลป่ายุบใน และการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ ยังไม่ทั่วถึง และข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ ได้แก่ การสนับสนุนด้านการศึกษา สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร เพิ่มการจ้างงานประชาชนในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในตำบลป่ายุบใน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
Description: Master Degree of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/681
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Public Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62930058.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.