Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/573
Title: CONTAINER YARD SELECTION FOR PICKING EMPTY CONTAINER BY USING GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMS (GIS)
การเลือกลานตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสมเพื่อรับตู้เปล่าด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Authors: Suthas Charoenmongkolkij
สุทัศน์ เจริญมงคลกิจ
CHOMPOONUT AMCHANG
ชมพูนุท อ่ำช้าง
Burapha University. Faculty of Logistics
Keywords: ลานตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่เหมาะสม/ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
SUITABLE EMPTY CONTAINER YARD/ GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aimed to study suitable routes and empty container yard. In accepting empty containers for loading products in Thailand and comparing the shipping routes and waiting times for empty containers of the company, a case study for decision-making in considering the selection of shipping routes and selecting the empty container yard. Which has the shortest distance and has the shortest waiting time for empty containers                       This research collects the Company's container transport data, case studies of past cargo vehicles (trailer), from May 2020 to November 2020, and route data. Between the trailer parking lot to the Empty Container Storage Yard of Ship Line D in Laem Chabang District, 3 container yards as follows: Container yard E, container yard F, container yard G and route. From an analysis of the past 7 months of shipping data and analyzing the data using the Geographic Information System application, the container yard G is the most suitable courtyard. Because the distance and travel time are the least In addition, the average time spent waiting for empty containers is the least
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางและลานตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ที่เหมาะสม ในการรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเพื่อไปบรรจุสินค้าในประเทศไทย และเปรียบเทียบเส้นทางขนส่งสินค้าและเวลาในการรอรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าของบริษัทกรณีศึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาเลือกเส้นทางขนส่งสินค้าและเลือกลานรับ ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ที่มีระยะทางสั้นที่สุดและมีระยะเวลาในการรอรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่า น้อยที่สุด                       การวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัทกรณีศึกษา ข้อมูลรถขนส่งสินค้า (รถเทรลเลอร์) ในการขนส่งสินค้าที่ผ่านมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และข้อมูลของเส้นทางการเดินรถ ระหว่างลานจอดรถขนส่ง สินค้า (รถเทรลเลอร์) ไปยังลานวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่า (Empty container storage yard) ของ สายเรือ D ในเขตแหลมฉบัง 3 ลานตู้ ดังนี้ ลานตู้ E ลานตู้ F ลานตู้ G และเส้นทางระหว่างลานวาง ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า (Empty container storage yard) ไปยังโกดังบรรจุสินค้า H จากการวิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งสินค้าที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด 7 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า ลานตู้ G เป็นลานตู้ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะมีระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางน้อยที่สุด รวมถึงยังใช้เวลาเฉลี่ยในการรอรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าน้อยที่สุดด้วย
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/573
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920139.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.