Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/282
Title: MATHEMATIC MODEL OF CARGO LOADING PLAN FOR AIR TRANSPORT CASE STUDY
แบบจำลองการจัดสินค้าบนระวางบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศของบริษัทกรณีศึกษา
Authors: Chontida Phosit
ชลธิดา โพธิ์สิทธิ์
THANYAPHAT MUANGPAN
ธัญภัส เมืองปัน
Burapha University. Faculty of Logistics
Keywords: การขนส่งสินค้าทางอากาศ/ การจัดระวางสินค้า/ สายการบิน
AIR FREIGHT/ SUPPLY MANAGEMENT/ AIRLINES X
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Due to the air freight being a service industry that is very popular and requires management that competes with time along with limited supply. Therefore, each airline must manage the cargo area in order to carry the most suitable goods, according to the amount of goods exported on each flight. The objectives of this research are to 1) study the current condition of the company's air freight distribution case 2) propose an application of the mathematical model for the air cargo transportation that is most suitable. There are 909,200.92 kilograms for 6 months of general exported products in the sample group. The research instruments used were mathematical models, by collecting only secondary data, which is the company's product export data from May-October 2019.                     The results of the research on the study of the current condition of the freight distribution of the company that is applied to create a mathematical model for the freight distribution, revealed that it can reduce the amount of goods that can not be arranged and can increase the efficiency of utilization of freight area. The average volume of unloaded products can be reduced from 163 items per month to 125 items per month. The average volume of unloaded products can be reduced by 38 items per month and increased the utilization of the cargo area from 94 percent per month to 98 percent per month. It can manage to increase the utilization of the cargo area up to 4 percent per month of all the cargo area.  
เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอุตสาหกรรมบริการที่มีความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และต้องมีการจัดการที่แข่งกับเวลา ในขณะที่อุปทานมีอย่างจำกัด ดังนั้น แต่ละ สายการบินจึงต้องมีการจัดการพื้นที่ระวางสินค้าให้บรรทุกสินค้าได้เหมาะสมที่สุด กับปริมาณสินค้าที่ต้องการส่งออกในแต่ละเที่ยวบิน งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน การจัดระวางสินค้าสายการบินของบริษัทกรณีศึกษา 2) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการจัดระวางสินค้าของสายการบินกรณีศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งมีสินค้าที่ทำการส่งออกประเภทสินค้าทั่วไปทั้งหมด 6 เดือน เป็นจำนวน 909,200.92 กิโลกรัม เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเพียงอย่างเดียว ได้แก่ ข้อมูลการส่งออกสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2562                     ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดระวางสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการจัดระวางสินค้า พบว่า สามารถลดปริมาณสินค้าที่ไม่สามารถจัดระวางได้และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ระวางสินค้าได้มากขึ้น โดยสามารถลดปริมาณสินค้าที่ไม่สามารถจัดระวางได้ จากเดิมเฉลี่ย 163 ชิ้นต่อเดือน เหลือ 125 ชิ้นต่อเดือน สามารถลดปริมาณสินค้าที่ไม่สามารถจัดระวางสินค้าได้เฉลี่ย 38 ชิ้นต่อเดือน และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ระวางสินค้าได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 94 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98 ต่อเดือน พบว่า สามารถบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ระวางสินค้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อเดือน ของพื้นที่ระวางสินค้าทั้งหมด
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/282
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920084.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.