Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/900
Title: FACTORS RELATED TO RESILIENCE AMONG PRIMIPAROUS ADOLESCENT WITH UNPLANNED PREGNANCY
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผน
Authors: Nannapat Supol
นันท์นภัส สุพล
PIRIYA SUPPASRI
พิริยา ศุภศรี
Burapha University
PIRIYA SUPPASRI
พิริยา ศุภศรี
supiriya@buu.ac.th
supiriya@buu.ac.th
Keywords: วัยรุ่น/ ตั้งครรภ์โดยไม่วางแผน/ ความยืดหยุ่นในชีวิต/ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง/ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน/ การสนับสนุนทางสังคม
ADOLESCENT/ UNPLANNED PREGNANCY/ RESILIENCE/ SELF ESTEEM/ SELF EFFICACY/ SOCIAL SUPPORT
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: Protective factors are essential for the resilience of primiparous adolescents with unplanned pregnancies. This descriptive research aimed to examine the resilience and the factors related to resilience among unplanned primiparous pregnant adolescent which included self-esteem, self-efficacy and social support. The sample consisted of 84 women with unplanned primiparous pregnant were under 20 years of age selected by random sampling and attending antenatal clinic at Nakhon Nayok hospital. Data were collected from January to March 2023 by using self report questionnaires which included  the Demographic Information Questionnaire, Self-esteem Questionnaire, Perceived Self-efficacy Questionnaire, Social support Questionnaire and Resilience Questionnaire The Cronbach’s alpha coefficients of the questionnaires were .74, .89, .86, .98 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. The result revealed that participants had resilience at a high level (M = 103.07, SD = 31.18) and factors  with a  statistically significantly positive correlated with resilience were self-esteem (r = 0.346, p < .01), self-efficacy (r = 0.415, p < .01) and social support (r = .293, p < .01). The finding suggested, to strengthen the resilience of unplanned primiparous pregnant adolescent, there is a need for raised awareness of self-esteem, enhancement of self-efficacy combined with family involvement.
ปัจจัยปกป้องมีความสำคัญต่อความยืดหยุ่นในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผน การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นในชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผน ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผน อายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนครนายก จำนวน 84 ราย ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกต่อตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต โดยมีค่าความเชื่อมั่นแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .74, .89, .86 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน  ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผนมีความยืดหยุ่นในชีวิตอยู่ในระดับสูง (M = 103.07, SD = 31.18) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยืดหยุ่นในชีวิตของหญิงตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r = .346, p < .01) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r = .415, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม (r = .293, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมความยืดหยุ่นในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์แรกโดยไม่วางแผนจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าในตนเอง เพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง ร่วมกับการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/900
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920143.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.