Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/899
Title: EFFECTS OF TRANSITIONAL HEALTH MANAGEMENT PROGRAMON READINESS FOR DISCHARGE, ADAPTATION AND CLINICAL SYMPTOMSAMONG ACUTE CORONARY SYNDROME PATIENTSWITH POST PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION
ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่านต่อความพร้อมจำหน่าย การปรับตัว และอาการทางคลินิกในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจ
Authors: Utthawit Jansiri
อรรถวิทย์ จันทร์ศิริ
PANICHA PONPINIJ
ปณิชา พลพินิจ
Burapha University
PANICHA PONPINIJ
ปณิชา พลพินิจ
somjit@buu.ac.th
somjit@buu.ac.th
Keywords: โปรแกรมส่งเสริมการจัดการภาวะสุขภาพ
ความพร้อมจำหน่าย
การปรับตัว
อาการทางคลินิก
ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Transitional health management program
Readiness for discahrge
Adaptation
Clinical symptoms
Acute coronary syndrome patients
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: Readiness for discharge has been emphasized as integral outcome of acute coronary syndrome care. It helps encourage patients to have confidence in managing themselves after illness as well as having an appropriate lifestyle and behavior change after being discharged from the hospital. This quasi-experimental two-group posttest design aimed to examine the effect of transitional health management program [THMP] on readiness for discharge, adaptation and clinical symptoms among first time acute coronary syndrome patients undergoing percutaneous coronary intervention. Sixty-eight patients who met inclusion criteria were recruited and randomly assigned into an experimental group (n=34) and control group (n=34). Those in an experimental group received a THMP which developed based on transition theory and related literature, while a control group received usual care. THMP consisted of assessment for readiness and related factors, promoting health management ability in transitional period, and continuing support. The study was conducted during May to July 2023. The research instruments were used to collect the data including the personal data, the health status and the Readiness for discharge questionnaire, Adaptation questionnaire, Cardiac anxiety questionnaire and Clinical symptoms questionnaire. The data was analyzed using descriptive statistics, Chi-square test and Independence t-test. The result revealed that after experiment, the experimental group had statistically significant higher mean score of readiness for discharge in comparison with the control group (t = 7.914, p<.001). At 2- and 4-weeks post intervention, the experimental group significantly improved functional adaptation and health management (t = 5.916, p<.001, t = 18.486, p<.001 respectively), significantly decreased cardiac anxiety (t = 9.548, p<.001, t = 16.791, p<.001 respectively) and had fewer clinical symptoms in comparison with the control group. The results suggested that the transitional health management program could be useful to promote readiness for discharge, develop confidence, coping and having appropriate health management in transitional care among acute coronary syndrome patients with post percutaneous coronary intervention.  
ความพร้อมจำหน่ายของผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในการจัดการตนเองภายหลังเกิดการเจ็บป่วย มีการดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการจัดการภาวะสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่านต่อความพร้อมจำหน่าย การปรับตัว และอาการทางคลินิกในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันครั้งแรกภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันครั้งแรกภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 68 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 34 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการภาวะสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่านที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การประเมินความพร้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่าน การเสริมสร้างความสามารถในการจัดการภาวะสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่าน การติดตามเยี่ยมและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความพร้อมจำหน่าย แบบสอบถามการปรับตัว แบบสอบถามความวิตกกังวล และแบบสอบถามอาการทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test และ Independence t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความพร้อมจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.914, p<.001)  ในระยะ 2 และ 4 สัปดาห์ภายหลังจำหน่าย กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวด้านการดำเนินชีวิตและการจัดการภาวะสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.916, p<.001 และ t = 18.486, p<.001 ตามลำดับ) กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.548, p<.001 และ t = 16.791, p<.001 ตามลำดับ) และมีอาการทางคลินิกน้อยกว่ากลุ่มควบคุม     ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการภาวะสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่านสามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมให้ผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านด้านสุขภาพที่สำคัญให้มีความพร้อม เกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมกับบริบทการเจ็บป่วย และจัดการกับภาวะสุขภาพภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้  
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/899
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64910030.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.