Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/864
Title: AN IMPROVEMENT OF ASSEMBLY PROCESS OF MOTORCYCLE CAP TANK MODEL ZR650 WITH LEAN SIX SIGMA CONCEPT
การปรับปรุงกระบวนการประกอบฝาถังน้ำมันสำหรับรถมอเตอร์ไซด์รุ่น ZR650 ด้วยหลักการลีน ซิกซ์ ซิกม่า 
Authors: Chonnatee Duangchai
ชนนะที ดวงชัย
BANHAN LILA
บรรหาญ ลิลา
Burapha University
BANHAN LILA
บรรหาญ ลิลา
blila@buu.ac.th
blila@buu.ac.th
Keywords: ลีน-ซิกซ์ ซิกม่า/ กระบวนการประกอบ/ อัตราการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพ
Lean Six Sigma/ Assembly Process/ Productivity and Quality Improvement
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: This paper presents the application of Lean Six Sigma principles in improving the cap tank assembly process of the ZR650 motorcycle model with the objectives of increasing production rates and reducing associated waste using the DMAIC methodology. Two main issues were identified from the D phrase: 1) Production rates were lower than the target of 600 pieces per day, and 2) The proportion of defective products exceeded the acceptable threshold of 10,000 ppm. The M phrase indicated that the assembly cycle time was 45.54 seconds/unit, exceeding the 42.00 seconds/unit target. This resulted in a production rate of only 550 units/day, and the proportion of defective was determined to be 28,440 ppm. The A and I phrases revealed the causes of the problems and subsequently led to the rearrangement of the production line using the ECRS approach, and the revision of sampling plans for components that were purchased from suppliers. In addition, the appropriate material mix between the new and used ingots for the casting process was determined for in-house components. The results showed a reduction in assembly cycle time to 34.31 seconds/unit resulting in a production rate of 804 units/day (33.67% impressment), and decrement in defective rate to 1,997 ppm. The work instruction was established for assembly operations and the p chart was used to monitor the proportion of defectives in the C phrase. In conclusion, the application of the DMAIC methodology for the Lean Six Sigma principles led to significant improvements in productivity and quality, achieving the desired goals which can also serve as guidelines for improving others' processes.
การวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์หลักการของลีน-ซิกซ์ ซิกม่าในการปรับปรุงกระบวนการประกอบฝาถังน้ำมันของมอเตอร์ไซด์รุ่น ZR650 เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตและลดความสูญเปล่าที่เกี่ยวข้อง ด้วยขั้นตอนของ DMAIC โดยขั้นตอนแรกสามารถบ่งชี้ปัญหาแยกเป็น 2 ประเด็นได้แก่ 1) อัตราการผลิตต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 600 ชิ้นต่อวัน และ 2) สัดสัดส่วนชิ้นงานเสียสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ซึ่งกำหนดไว้ 10,000 ppm ผลจากการวัดบ่งชี้ว่ารอบเวลาการประกอบเท่ากับ 45.54 วินาทีต่อชิ้น สูงเป้าหมายที่กำหนดเท่ากับ 42.00 วินาทีต่อชิ้น ทำให้มีอัตราการประกอบเพียง 550 ชิ้นต่อวัน และมีสัดส่วนชิ้นงานเสีย 28,440 ppm การดำเนินการในขั้นตอนการวิเคราะห์ สามารถบ่งชี้สาเหตุของปัญหาซึ่งนำไปสู่การกำหนดแนวทางการปรับปรุงด้วยหลักการ ECRS และการปรับแผนการสุ่มตรวจสอบชิ้นส่วนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการ และการกำหนดอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างวัตถุดิบใหม่กับวัตถุดิบใช้ซ้ำในการหล่อขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ผลิตเอง จากการติดตามผลพบว่าสามารถลดเวลาการประกอบลงเหลือ 34.31 วินาทีต่อชิ้น อัตราการประกอบเพิ่มเป็น 804 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.67 สัดส่วนชิ้นงานเสียลดลงเหลือ 1,997 ppm ทีมงานจัดทำเอกสารวิธีการทำงานของสายการประกอบและใช้แผนภูมิควบคุม p เพื่อตรวจติดตามสัดส่วนชิ้นงานเสียเพื่อควบคุมกระบวนการ และสรุปได้ว่าการประยุกต์ขั้นตอน DMAIC กับแนวทาง ลีน-ซิกซ์ ซิกม่าสามารถนำไปสู่การปรับปรุงที่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่กำหนดและใช้เป็นแนวทางการสำหรับการปรับปรุงกระบวนการอื่นได้ต่อไป
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/864
Appears in Collections:Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920201.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.