Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/861
Title: FACTORS AFFECTING DIETARY SUPPLEMENT CONSUMPTION BEHAVIORS OF FEMALE VOCATIONAL CERTIFICATE STUDENTS
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Authors: Prapasri Pleng-in
ประภาศรี เพลงอินทร์
ROTRUEDEE CHOTIGAWIN
รจฤดี โชติกาวินทร์
Burapha University
ROTRUEDEE CHOTIGAWIN
รจฤดี โชติกาวินทร์
rotruedee@buu.ac.th
rotruedee@buu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการบริโภค/ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก/ นักเรียนอาชีวศึกษา
CONSUMER BEHAVIOR/ WEIGHT LOSS DIETARY SUPPLEMENTS/ VOCATIONAL STUDENTS
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: This cross -sectional descriptive research aims to determine the factors affecting the behavior of consuming weight loss dietary supplements among female vocational certificate-level students in Pathum Thani province. The numbers of representative group were 359 peoples. A stratified random sampling technique was employed. Data was collected with questionnaires. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were conducted the data.                       The result found that the majority of students were 17 years old, studying in the first year of vocational certificate at 37.88% and the body mass index (BMI) values fall within the normal at 56.82%. The average daily income was 195 Baht. 50.70 % of students have never had a history of consuming weight loss dietary supplements and 55.43% of them expressed satisfaction with their body shape. Accessing sources for purchasing weight loss dietary supplements as 91.39% (mean= 1.07±1.69) and receiving information about products and precautions regarding the consumption of weight loss dietary supplements as 68.52% (mean= 2.67±3.24) were low level. Moreover, the knowledge as 71.31% (mean= 16.33±3.86), attitude as 71.59% (mean = 36.59±6.83) and behavior of consuming weight loss dietary supplements as 52.37% (mean = 20.11 ±3.33) were good level. The attitudes, a history of consuming and receiving information were statistically significant predictors of the behavior of consuming weight loss dietary supplements at a significance level of 0.05 at 28.7% (Adjust R2 = 0.287, p < 0.001) The research findings can be used as supporting data for planning and proposing appropriate weight loss strategies, and can be further developed into a weight control program in the future.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ในลักษณะของการศึกษา ณ จุดเวลา (Cross-section study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 359 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                       ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุ 17 ปี อยู่ในระดับชั้น ปวช.1 ร้อยละ 37.88 ค่าดัชนีมวลกายส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (BMI) ร้อยละ 56.82 รายได้เฉลี่ยต่อวัน 195 บาท โดยส่วนมากไม่เคยมีประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก เท่ากับ ร้อยละ 50.70 และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง เท่ากับ ร้อยละ 55.43 ส่วนใหญ่มีการเข้าถึงแหล่งซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก เท่ากับ  ร้อยละ 91.36 (ค่าเฉลี่ย = 1.07± 1.69) และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และข้อควรระวังในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก เท่ากับ ร้อยละ 68.52  (ค่าเฉลี่ย = 2.67±3.24) อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่ส่วนใหญ่คะแนนความรู้ เท่ากับ ร้อยละ 71.31, (ค่าเฉลี่ย = 16.33±3.86) ทัศนคติ เท่ากับ ร้อยละ 71.59 (ค่าเฉลี่ย = 36.59±6.83) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก เท่ากับ ร้อยละ 52.37 (ค่าเฉลี่ย = 20.11±3.33) อยู่ในระดับมาก โดยทัศนคติ ประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก และการได้รับข้อมูลข่าวสาร เป็นปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักได้ร้อยละ 28.7 (Adjust R2 = 0.287, p < 0.001) โดยผลการวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการวางแผน เสนอแนวทางการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อไป
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/861
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920022.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.