Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/838
Title: A COMPARISON OF THE IMPACT OF THE SERVICE MARKETING MIX (7Ps) ON CUSTOMER SATISFACTION IN PRIVATE DENTAL CLINIC IN AMPHUR MUANG CHANTHABURI, CHANTHABURI PROVINCE
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านบริการ (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการคลินิกทันตกรรม ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
Authors: Ittiphol Changsirimongchol
อิทธิพล จังสิริมงคล
SARUNYA LERTPUTTARAK
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
Burapha University
SARUNYA LERTPUTTARAK
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
sarunyal@buu.ac.th
sarunyal@buu.ac.th
Keywords: ทันตกรรมจัดฟัน
บอกปากต่อปาก
พฤติกรรมผู้บริโภค
ความพึงพอใจ
กลยุทธ์การตลาด
ส่วนประสมการตลาดด้านบริการ
dental clinic
personal factors
customer behavior
marketing mix factors (7Ps)
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: A COMPARISON OF THE IMPACT OF THE SERVICE MARKETING MIX (7Ps) ON CUSTOMER SATISFACTION IN PRIVATE DENTAL CLINIC IN AMPHUR MUANG CHANTHABURI, CHANTHABURI PROVINCE The objectives of the study were 1)To Study the behavior of using dental clinic services. 2) To compare satisfaction of sampling using dental clinic with different personal factors. 3) To Study the influence of service marketing mix factors (7Ps) on satisfaction of sampling using dental clinic  4) To make a comparison of importance of the service marketing mix (7Ps)  between four dental clinic in the area of ​​Mueang Chanthaburi District Chanthaburi Province.The study was a quantitative research by collecting questionnaires for 398 subjects were select from who treatment in  four dental clinic. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, T-Test, One Way Anova (F-test) and Multiple Regression.                    The results indicated that personal factors of dental clinic users were female 62.6%, aged between 21-30 years 41.7%, education is bachelor's degree, 49.5%, occupation were student  27.1%, monthly income 10,001-20,000 baht 36.4%, Behavior of service users choosing to receive services Counseling system 67.6%, Orthodontics treatment 37.5%, make dicision for select dental clinic by yourself 56.4%, paid for the service by cash 59.6%,  uncertain days to use the service 43.2%,  uncertain convenient times to use the service 38.9% and get information from the advice from friends / relatives / acquaintances 34%. In terms of marketing mix factors (7Ps), the overall level was very good with an average of 4.67. Whereas personal factor, process factor and physical evident factor  were influence to satisfaction in using dental clinic services.And the last objective was found that dental clinic A and B affected by marketing mix factor(7Ps) morethan clinic C and D.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมในการใช้บริการคลินิก ทันตกรรม 2) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลินิกทันตกรรมของผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านบริการ (7Ps) ต่อความพึงพอใจในการใช้บริการคลินิกทันตกรรม 4) ศึกษาเปรียบเทียบการให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านบริการ (7Ps) ในการใช้บริการคลินิกทันตกรรม 4 คลินิก ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)โดยการเก็บแบบสอบถามผู้มาใช้บริการคลินิกทันตกรรม จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ Independent sample t-test, One- Way ANOVA และ Multiple Linear Regression                    ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.6 , อายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ41.7, การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 49.5, อาชีพนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 27.1, มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 ร้อยละ 36.4,  พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการเลือกรับบริการระบบให้คำปรึกษา ร้อยละ 67.6 ใช้บริการด้านการจัดฟัน ร้อยละ 37.5 ตัดสินใจมารับบริการเอง ร้อยละ 56.4 วิธีชำระค่าบริการด้วยเงินสด ร้อยละ 59.6 ช่วงวันที่ไปใช้บริการไม่แน่นอน ร้อยละ 43.2 ช่วงเวลาที่สะดวกใช้บริการไม่แน่นอน ร้อยละ 38.9 และได้รับข้อมูลข่าวสารจากคำแนะนำของเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก ร้อยละ 34.0 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความพึงพอใจด้านการใช้บริการคลินิกทันตกรรมแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านบริการ (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการคลินิกทันตกรรมที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 คือ ด้านพนักงาน ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านบริการ (7Ps) ของผู้ใช้บริการคลินิก A B C และ D พบว่า ผู้ใช้บริการคลินิก A และ คลินิก B ให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านบริการ (7Ps) มากกว่าคลินิก  C และ D      
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/838
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Commerce

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64710038.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.