Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/804
Title: PREDICTIVE FACTORS OF QUALITY OF LIFE AMONG DEPENDENT ELDERLY LIVING IN COMMUNITY
ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
Authors: Mukjarin Somkit
มุขจรินทร์ สมคิด
WAREE KANGCHAI
วารี กังใจ
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
QUALITY OF LIFE
DEPENDENT OLDER PERSONS IN COMMUNITY
Issue Date:  18
Publisher: Burapha University
Abstract: Dependent elderly in community is defined as a person who has limited in self care because of age related deterioration and require for daily living supports. If they do not receive any supports, this may effect on their quality of life. The purpose of this predictive correlation study was to study level of quality of life and determine the predictive of quality of life of dependent elderly in community. The participants were 92 dependent elderly community dwellers aged 60 years in Sisaket province. They were selected by stratified random sampling technique. Research instruments included the Health Status questionnaire, the Appraisal of Self-Care Agency Scale, the Self-Esteem Scale, the Thai Geriatric Depression Scale, the Family Relations Questionnaire and the World Health Organization Quality of Life Brief – Thai. Descriptive statistics and multiple regression were employed for data analyses. The results indicated that overall of dependent elderly in community perceived their quality of life at a moderate level 55.4 %. Predictive factors of quality of life were health status (β = .145, p < .05), self-care agency (β = .462, p < .001), self-esteem (β = .029, p< .01), depression (β = 1.233, p < .05) and family relationship (β = .150, p <.05) and all factors could predict quality of life with 54.7%. (R2 = .547, p <.01). The findings suggested that nurse should develop nursing care model focusing on health status, self-care agency, self-esteem, family relationships and depression reduction to promote the quality of life of dependent elderly in community.
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นผู้ที่มีความจำกัดในความสามารถในการดูแลตนเองอันเกิดจากความเสื่อมตามวัยและมีความต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 92 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทยแบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว และเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.4 ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ได้แก่ ภาวะสุขภาพ (β = .145, p < .05) ความสามารถในการดูแลตนเอง (β = .462, p < .001) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (β = .029, p< .01) ภาวะซึมเศร้า (β = 1.233, p < .05) และสัมพันธภาพในครอบครัว (β = .150, p <.05) และปัจจัยทั้ง 5 สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้ ร้อยละ 54.7 (R2 = .547, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรมีการพัฒนารูปแบบการพยาบาลที่เน้นการส่งเสริมภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว และลดภาวะซึมเศร้าเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/804
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59920416.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.