Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/768
Title: PSYCHOSOCIAL FACTORS INFLUENCING ONLINE GAME ADDICTION BEHAVIORS AMONG SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN EXTENDED EDUCATIONAL OPPORTUNITY SCHOOLS
ปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Authors: Yupha Muainok
ยุภา หม่วยนอก
DUANGJAI VATANASIN
ดวงใจ วัฒนสินธุ์
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัยด้านจิตสังคม/ พฤติกรรมติดเกมออนไลน์/ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น/ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
PSYCHOSOCIAL FACTORS/ ONLINE GAME ADDICTION BEHAVIORS/ SECONDARY SCHOOL STUDENTS/ EXTENDED EDUCATIONAL OPPORTUNITY SCHOOLS
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Secondary school students in extended educational opportunity schools are in adolescent period and at risk for online game addiction behaviors. The purpose of this predictive correlational study was to examine online game addiction behaviors and its influencing factors among 115 secondary school students in extended educational opportunity schools which located in Muang District, Chonburi Province. The stratified random sampling was employed to randomly select the sample. Data were gathered by seven questionnaires including a Personal Information Form, and other scales including Online Game Addiction Screening Test for Child and Adolescents, Self-esteem, Resilience, Family Connectedness, Friendship Intimacy, and Interpersonal relationship between students and teachers scales. These scales yielded Cronbach’s alpha coefficients of .87, .80, .82, .82, .80 and .88, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results revealed that 54.78 % of the sample had regular online game behaviors, 27.82 % had online game obsession behaviors and 17.40 % had probably online game addiction behaviors. The results of stepwise multiple regression analyses revealed that self-esteem (β = -.560, p < .001) and family attachment (β = -.437, p < .001) together could explain 78.20 %  (R2 = .782, p < .001) for the variance in online game addiction behaviors among secondary school students in extended educational opportunity schools. The results suggest that online game addiction behaviors among secondary school students in extended educational opportunity schools is an important mental health concern. The health care providers should aware and promote mental health programs or activities to prevent or decrease online game addiction behaviors by enhancing self-esteem and family connectedness among these students.
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 115 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมการติดเกมฉบับเด็กและวัยรุ่น ความภาคภูมิใจในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิต ความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .87, .80, .82, .82, .80 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.78 มีพฤติกรรมเล่นเกมปกติ ร้อยละ 27.82  มีพฤติกรรมคลั่งไคล้เกม และร้อยละ 17.40 มีพฤติกรรมน่าจะติดเกม ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความภาคภูมิใจในตนเอง (β = -.560, p < .001) และความผูกพันในครอบครัว (β = -.437, p < .001) สามารถร่วมทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้ร้อยละ 78.20 (R2 = .782,  p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมติดเกมออนไลน์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำคัญที่ทีมสุขภาพควรตระหนัก และจัดให้มีโปรแกรมหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันหรือลดพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเน้นการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และส่งเสริมการสร้างความผูกพันในครอบครัว
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/768
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920141.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.