Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/763
Title: FACTORS INFLUENCING DEPRESSION AMONG THE ELDERLY IN THE TROUBLE AREA PATTANI PROVINCE
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง จังหวัดปัตตานี
Authors: Asmira Make
อัสมีรา มะเก
JINJUTHA CHAISENA DALLAS
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ภาวะซึมเศร้า/ สัมพันธภาพในครอบครัว/ การรับรู้เหตุการณ์รุนแรง/การสนับสนุนทางสังคม/ ความเข้มแข็งทางใจ/ ผู้สูงอายุ
DEPRESSION/ FAMILY RELATIONSHIP/ PERCEIVED VIOLENCE EVENTS/ SOCIAL SUPPORT/ RESILIENCE/ OLDER ADULTS
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Depression is significant factor affecting the quality of life in older adults. The purpose of this research was to study factors influencing depression among the elderly in the trouble area, Pattani Province. Multi-stage random sampling was used to recruit 155 older adults in Maikaen District, Pattani Province who met the inclusion criteria. Data were collected from August to September 2021. Research instruments consisted of  1) Research instruments consisted of a Thai Mini-Mental State Examination; TMSE (TMSE) scale 2) Personal information record 3) Depression scale 4)  family relationship interview 5) Perception of violent events interview 6) Social support interview and 7) Resilience interview. Cronbach’s alpha reliabilities of the 2-7 questionnaires ranged from .80-.89. Data were analyzed by using descriptive statistics, and Stepwise multiple regression analysis. The results showed that 75.5% percent of the samples was in high depression level. The predictive factors that significantly predicted depression included perception of violent events (β = .349 = .630, p < .001) and Resilience (β = .203, p < .05). These variables together explained 18.7 % of the variance in depression (R2 = .187, p < .05). The results confirm that perception of violent events and resilience influenced depression among older adults living in the trouble area. Therefore, nurses, health care providers, and the personnel who work with the elderly would concern about psychological care relying on those factors in order to promote mental health and prevent depression in the elderly.
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรงจังหวัดปัตตานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ที่มีคุณสมบัติตรงตามงานวิจัยกำหนด จำนวน 155 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้า 4) แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว 5) แบบสัมภาษณ์การรับรู้เหตุการณ์รุนแรง 6) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และ 7) แบบสัมภาษณ์ความเข้มแข็งทางใจ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบสอบถาม 2-7 อยู่ระหว่าง .80-.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าระดับสูง ร้อยละ 75.5 และพบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแปรการรับรู้เหตุการณ์รุนแรง (β = .349 = .630, p < .001) และ ตัวแปรความเข้มแข็งทางใจ (β = .203, p < .05) ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 18.7 (R2 = .187, p < .05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การรับรู้เหตุการณ์รุนแรงและความเข้มแข็งทางใจ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง ดังนั้นพยาบาล บุคลากรทางด้านสุขภาพและบุคคากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลด้านจิตใจ โดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/763
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920050.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.