Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/739
Title: DEVELOPMENT OF HEALTH LITERACY ON PESTICIDES TO REDUCE HEALTH RISK AND HEALTH IMPACT AMONG AGRICULTURAL WORKERS AT RICE PADDY FIELDS IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
การพัฒนาความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพของแรงงานภาคเกษตรกรรมในแปลงนาข้าว จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Thawatchai Aeksanti
ธวัชชัย เอกสันติ
NIPA MAHARACHPONG
นิภา มหารัชพงศ์
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้สุขภาพ/ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/ แรงงานภาคเกษตร
HEALTH LITERACY/ PESTICIDE/ AGRICULTURAL WORKERS
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: This study, development of health literacy on pesticides to reduce health risk and health impact of agricultural workers at rice paddy fields in Nakhon Ratchasima, was a research and development, by conducting research as follows. Phase 1 studied health literacy and pesticide exposure preventive behaviors among 480 farmers. Phase 2 was to create and develop a program to promote health literacy, to experiment with a pilot sample, to obtain a program "well-versed in the use of pesticides". Then, this study was carried out in Phase 3, to study the effect of health literacy promotion program among agricultural workers spraying pesticides in rice fields, by quasi-experimental research to increase health literacy levels, promote pesticides exposure preventive behaviors, and reduce risks and health effects.                  In Phase 1, most of the samples were female, aged 51-59 years, average household income less than 60,000 baht, using pesticides 1-5 years, receiving information from sellers, using five types of chemicals in cultivation, most of them never received training on the use of chemicals, used to detect pesticide residues in the body. The subjects had a moderate level of overall health literacy and a high level of cognition. Access to information and services, communication, self-management, media literacy, and decision-making were moderate. The pesticide exposure prevention behavior was moderate. The health risk was 17.2 percent at risk and 10.6% unsafe. The health effects consisted of 100% mild illness, no severe symptoms, and 99.2% of the two abnormal symptoms. Factors on sex, marital status, educational background, average family income, information channels, and types of pesticides used in the past growing season were related to pesticide exposure prevention behaviors. Knowledge of all aspects of health was related to pesticide exposure prevention behaviors. Health knowledge and pesticide exposure prevention behaviors were related to the detection of pesticide residues in the body.                  Phase 2, creating and developing a health literacy program, drafting a plan for four activities promoting health literacy, namely 1) orientation and joint planning activities, 2) workshop activities to promote health literacy and develop pesticide exposure preventive behaviors, 3) monitoring and stimulating activities to develop skills, knowledge of health and pesticide exposure prevention behavior, and 4) learning summary and project closure activities. The results of this study led to the development of a "well-versed in the use of pesticides" manual, which incorporates multimedia on how to use pesticides safely, without risk and its impact on health.                  Phase 3 was the outcome of a health literacy promotion program. The sample consisted of 70 farmers, divided into two equal groups. The total health literacy and pesticide exposure prevention behaviors increased, and higher than the control group. The experimental group had higher cholinesterase levels than before, and statistically significantly higher than the control group. The effect of improving health literacy in the use of pesticides for farmers, comparing the effects of health literacy programs on health literacy, pesticide exposure prevention behaviors and cholinesterase levels between the experimental group and the control group, found that after participating in the program, the mean scores on all components of health literacy and the mean scores on each side of the experimental group were statistically significant higher than the control group that did not received program (p<0.001). After the experiment, the experimental group showed an increased protective behavior from pesticide use and increased blood cholinesterase levels, and significantly higher than the control group (p<0.001).
การพัฒนาความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานภาคเกษตรกรรมในแปลงนาข้าว จังหวัดนครราชสีมา มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 480 คน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างนำร่อง ได้โปรแกรม “รอบรู้ รอบด้าน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช” นำไปใช้ใน ระยะที่ 3 ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพในแรงงานภาคเกษตรกรรมที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาข้าว โดยวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเพิ่มระดับความรอบรู้สุขภาพ ส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพ                  ระยะที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-59 ปี รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีน้อยกว่า 60,000 บาท ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 1-5 ปี รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ขาย มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก 5 ชนิด ส่วนใหญ่ไม่เคยอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมี เคยตรวจหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย มีความรอบรู้สุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการ ด้านการสื่อสาร ด้านการจัดการตนเอง ด้านการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ ด้านการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ระดับปานกลาง ความเสี่ยงทางสุขภาพ ระดับเสี่ยง ร้อยละ 17.2 ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 10.6 ผลกระทบต่อสุขภาพ มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ร้อยละ 100 ไม่พบอาการแสดงรุนแรง และมีอาการผิดปกติ 2 กลุ่มอาการ ร้อยละ 99.2 ปัจจัย เพศ สถานะภาพ วุฒิการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร และชนิดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในฤดูการเพาะปลูกที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความรอบรู้สุขภาพทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์กับผลตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในร่างกาย                  ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ ได้ร่างแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมปฐมนิเทศและวางแผนร่วมกัน 2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพและพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3) กิจกรรมติดตามและกระตุ้นการพัฒนาทักษะความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ 4) กิจกรรมสรุปการเรียนรู้ และปิดโครงการ ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่การพัฒนาคู่มือ “รอบรู้ รอบด้าน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช” ประกอบการใช้สื่อมัลติมิเดียเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย และไม่เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพ                  ระยะที่ 3 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 70 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองความรอบรู้สุขภาพรวม และพฤติกรรมการป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพิ่มขึ้น และมากกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำหรับเกษตรกร โดยเปรียบเทียบผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพที่ส่งผลต่อความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้สุขภาพรวมทุกองค์ประกอบ และคะแนนเฉลี่ยรายด้านของกลุ่มทดลอง มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
Description: Doctor Degree of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/739
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59810044.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.