Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/715
Title: HEALTH LITERACY AND PERCEPTION ON CHILD’S SEXUAL RISK BEHAVIORSOF PARENT ON PARENTAL CARE BEHAVIORS TO PREVENT PREGNANCYAMONG EIGHT GRADE OF INDUSTRIAL AREA IN CHON BURI PROVINCE
ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศบุตรหลานของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2พื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
Authors: Sittikoon Khamwong
สิทธิคุณ คำวงศ์
SAOWANEE THONGNOPAKUN
เสาวนีย์ ทองนพคุณ
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ/ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ/ พฤติกรรมการดูแลบุตรหลาน/ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร/ พื้นที่อุตสาหกรรม/ วัยรุ่น/ ผู้ปกครอง
HEALTH LITERACY
SEXUAL RISK BEHAVIORS
PARENTAL CARE
TEENAGE PREGNANCY
INDUSTRIAL AREA
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: The purpose of this quantitative cross-sectional research was to study health literacy and perception on child's sexual risk behaviors of parent on parental care behaviors to prevent pregnancy among eight grade students in industrial area, Chon Buri province. The sample consisted of 203 parents. The data were analyzed by using descriptive statistics and a chi-square test was used for correlation analysis.                       The results showed that respondents were female 73.9%, had good family relationship 81.8%, had middle level of health literacy 42.9%, had low level of perception of parents on the risky sexual behaviors of students 78.3%, and had inappropriate parental care behaviors to prevent pregnancy 81.3%. According to the results of an association analysis, the factors which significantly associated with parental care behaviors to prevent pregnancy (p < 0.05) were as follows: hour of work/day (p=0.005), family income (p=0.002), income sufficiency (p=0.005), relationship with children (p<0.001), marriage status (p<0.001), perceive age at first pregnancy of child's mother (p=0.003), average grades (p<0.001), child’s expense/day (p = 0.003), child's night out (p=0.002), child's alcohol drinking (p=0.043), cigarette smoking (p = 0.043),  child's watching porn (p<0.001), access health information and health services (p<0.001), understand health information (p<0.001), appraising health (p<0.001), discrimination decision (p<0.001), health literacy  (p<0.001), and perception of parents on the risky sexual behaviors of students (p = 0.038). The results showed that the parents had inappropriate parental care behaviors to prevent pregnancy. Therefore, school, workplace, and related organizations should promote health literacy to parent, especially in parents who are neither father nor mother for the better of child's behaviors understanding.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แบบ ณ จุดเวลา เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศบุตรหลานของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จำนวน 203 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแคว์                       ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 73.9) สัมพันธภาพในครอบครัวดี (ร้อยละ 81.8) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ  42.9) การรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของบุตรหลานในระดับน้อย (ร้อยละ 78.3) พฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในระดับที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 81.3) จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับกับพฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน (p = 0.005) รายได้ของครอบครัว (p=0.002) ความเพียงพอของรายได้ (p=0.005) ความเกี่ยวข้องกับบุตรหลาน (p<0.001) สถานภาพสมรส (p<0.001) การรับรู้อายุเมื่อตั้งครรภ์ครั้งแรกของมารดาของบุตรหลาน(p=0.003) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในภาคการศึกษาที่ผ่านมา (p<0.001) เงินสำหรับใช้จ่ายต่อวัน(p=0.003) การเที่ยวกลางคืน(p=0.002) การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์(p=0.043) การสูบบุหรี่ (p=0.043) การดูสื่อลามกอนาจาร (p<0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (p<0.001) ด้านความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ (p<0.001) ด้านการประเมินข้อมูลสุขภาพ (p<0.001) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ (p<0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวม (p<0.001) และการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศบุตรหลานของผู้ปกครอง (p=0.038) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีพฤติกรรมการดูแลบุตรหลานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในระดับที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นโรงเรียน สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ปกครองให้มากยิ่งขึ้น และให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ ให้เข้าใจพฤติกรรมของบุตรหลานมากยิ่งขึ้น
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/715
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920017.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.