Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/712
Title: FACTORS PREDICTING PREVENTIVE BEHAVIORS OF CARPAL TUNNEL SYNDROME OF BANKERS : A CASE STUDY OF AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVES BANKERS IN CHONBURI PROVINCE
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการกดรัดอุโมงค์ข้อมือของพนักงานธนาคาร: กรณีศึกษา พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดชลบุรี
Authors: Siwitra Khonrang
สิวิตรา คนแรง
AIMUTCHA WATTANABURANON
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: โรคกลุ่มอาการกดรัดอุโมงค์ข้อมือ/ ปัจจัยทำนาย/ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ
CARPAL TUNNEL SYNDROME/ FACTORS PREDICTING
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aimed to study carpal tunnel syndrome (CTS) preventative behaviors, the CTS perception level according to the theory of Health Belief Model , and the predictive factors of the CTS among Agriculture and Agricultural Cooperatives Bankers who used computers for more than five hours a day. Online questionnaires modified in accordance with the theory of Health Belief Model were given to 126 subjects who were selected by purposive selection.                        Research instruments included questionnaires concerning 1) personal data 2) CTS knowledge 3) perceptions of carpal tunnel syndrome (CTS) and 4) behaviors of carpal tunnel syndrome (CTS). The reliability of these questionnaires were 0.93, 0.75, 0.93 and 0.92 respectively. Data were collected from May 5-31,2022 were analyzed using mean, percentage, standard deviation (SD), minimum and maximum values, pearson’s correlation coefficient and multiple linear regression. Factors concerning sex, age, BMI, congenital disease, dominant hand, working group and CTS knowledge involved the use of the wrist were found no statistically significant relationship with preventive disease behaviors.                        This research showed that participants had the high level of health belief perceptions on CTS (X̅ = 3.06) and moderate level of behaviors in preventing on CTS (X̅ = 2.73). Health motivation (R = 0.560, p<0.001), perceived benefit of practice (R = 0.469, p<0.001), perceived severity of disease (R = 0.449, p<0.001), perceived risk of disease (R = 0.430, p<0.001), and perceived barriers (R = 0.383, p<0.001) were all significantly associated with disease prevention behaviors. This study demonstrated that perceptions were correlated with CTS. Furthermore, the most influence was health motivation effect size 0.376 and factors predicting preventive behaviors of carpal tunnel syndrome of Agriculture and Agricultural Cooperatives bankers could predict (β = 0.726, p<0.001)  about 45.4 % at the statistically significant level of  0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการกดรัดอุโมงค์ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS ) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  (Health Belief Model) และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มพนักงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) จังหวัดชลบุรี ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน ประชากรจำนวน 126 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามในด้าน 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ความรู้เรื่องโรค 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรค CTS  และ 4) พฤติกรรมการป้องกันโรค CTS ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 0.75 0.93 และ 0.92 ตามลำดับ  ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลช่วง 5-31 พฤษภาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)  และ สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple linear regression)                        ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว มือข้างที่ถนัด กลุ่มปฏิบัติงาน และความรู้เรื่องโรค CTS  ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรค CTS ของพนักงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ                        ประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพระดับสูงมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.06 และมีพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการกดรัดอุโมงค์ข้อมือระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.73 โดยพบว่าแรงจูงใจด้านสุขภาพ (R = 0.560, p<0.001) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติ (R = 0.469, p<0.001) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (R = 0.449, p<0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (R = 0.430, p<0.001) และการรับรู้ต่ออุปสรรค (R = 0.383, p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งการรับรู้ด้านแรงจูงใจด้านสุขภาพ มีอิทธิพลมากสุดเท่ากับ 0.376 แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรค CTS  ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรค CTS ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)  ของพนักงานธนาคาร (β = 0.726, p<0.001) ได้ร้อยละ 45.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: Master Degree of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/712
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920351.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.