Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/695
Title: OPTIMIZATION FEEDING REGIMES OF DANCING SHRIMP (RHYNCHOCINETES DURBANENSIS; GORDON, 1936) WITH LIVE FOOD AND MICROENCAPSULATED DIET ON GROWTH, SURVIVAL RATE AND SETTLEMENT RATE
การให้อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกกุ้งมดแดง (Rhynchocinetes durbanensis; Gordon, 1936) ด้วยอาหารมีชีวิต และอาหารไมโครเอนแคปซูลเลท ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอด และระยะเวลาในการลงเกาะของลูกกุ้งมดแดง 
Authors: Siriwan Choosri
ศิริวรรณ ชูศรี
VICHAYA GUNBUA
วิชญา กันบัว
Burapha University. Faculty of Science
Keywords: กุ้งมดแดง (Rhynchocinetes durbanensis (Gordon, 1936))/ อาร์ทีเมีย/ อาหารไมโครเอนแคปซูลเลท/ อัตรารอด/ กิจกรรมของเอนไซม์
DANCING SHRIMP (RHYNCHOCINETES DURBANENSIS GORDON 1936)/ ARTEMIA SP./ MICROENCAPSULATED DIETXSURVIVAL RATE/ ENZYME ACTIVITIES
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aimed to investigate the food types and optimized feeding (Newly hatching Artemia sp., Microencapsulated diet (MED)) for nursery of dancing shrimp larvae (Rhynchocinetes durbanensis Gordon, 1936). The survival, growth and settlement rate as well as the study of in vitro protein digestibility and enzyme activities of the larvae shrimp were also studied. The completely randomized design (CRD) was applied in the experiment with 4 treatments in triplicates. The treatments included the newly hatched Artemia sp. (treatment 1), newly hatched Artemia sp. was fed to larvae for 18 days and MED was added after day 15 onwards (treatment 2), newly hatched Artemia sp. with MED (treatment 3) and only MED (treatment 4), respectively. All treatments were carried out in 10 L tanks at a density of 3 shrimps/L under the laboratory conditions. The experiment initiated since the first day of dancing shrimps hatched until they were settlement. The results showed that the larvae in the treatment 3 had the highest survival rate (31.11±5.8%) followed by treatments 1, 2 and 4 (21.11±2.0, 2.22±0.6 and 0.00± 0.0%) (p<0.05), respectively. The high growth lengths (14.82±0.85, 14.30±1.11 mm.) were found in treatment 1 and 3, followed by treatments 2 and 4 (8.90±2.31, 0.0± 0.0 mm.) (p<0.05), respectively. Enzyme activities of protease, trypsin and chymotrypsin indicated that the larvae in treatment 3 (0.73±0.004 Unit/hr/mg protein, 0.87±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein, 0.10±0.02 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein) higher than in treatment 1 (0.59±0.00 Unit/hr/mg protein, 0.22±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein, 0.04±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein). For in vitro protein digestibility of MED was 4,674.47 mMol - Dl - Alanine/g feed/Trysin act. All results confirmed that the microencapsulated diet was accepted by the larvae and could be combined with live food for larvae shrimp feeding.                       The results of this study suggested that the optimized feeding for R. durbanensis was the newly hatched Artemia sp. with MED (treatment 3) which led to the higher in survival rate and total length including the enzyme activities of protease, trypsin and chymotrypsin than other treatments.
การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาชนิดของอาหารและการให้อาหารที่เหมาะสม (อาร์ทีเมียแรกฟัก (Newly hatching Artemia sp.), อาหารไมโครเอนแคปซูลเลท (Microencapsulated diet)) ในการอนุบาลลูกกุ้งมดแดง Rhynchocinetes durbanensis (Gordon, 1936) ที่มีผลต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต ระยะเวลาในการลงเกาะ รวมถึงศึกษาประสิทธิภาพ การย่อยได้ของโปรตีน และกิจกรรมของเอนไซม์ในการย่อยอาหารของลูกกุ้งมดแดง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่ม สมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) มี 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ชุดการทดลองที่ 1 อนุบาลด้วยอาร์ทีเมียแรกฟัก ชุดการทดลองที่ 2 อนุบาลด้วยอาร์ทีเมียแรกฟักเป็นเวลา 18 วัน และเริ่มให้อาหารไมโครเอนแคปซูลเลทวันที่ 15 ชุดการทดลองที่ 3 อนุบาลด้วยอาร์ทีเมียแรกฟักร่วมกับอาหารไมโครเอนแคปซูลเลท และชุดการทดลองที่ 4 อนุบาลด้วยอาหารไมโครเอนแคปซูลเลท ทำการทดลองภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ ในถังอนุบาลขนาด 10 ลิตร ที่ความหนาแน่นลูกกุ้ง 3 ตัวต่อลิตร การทดลองเริ่มตั้งแต่ลูกกุ้งแรกฟักจนถึงระยะลงเกาะ ผลการศึกษาพบว่าลูกกุ้งที่อนุบาลด้วยอาหารชุดการทดลองที่ 3 มีอัตรารอดสูงสุด (31.11±5.8 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 4 (21.11±2.0, 2.22±0.6 และ 0.00± 0.0 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ (p<0.05) ชุดการทดลองที่ 1 และ 3 มีการเจริญเติบโตด้านความยาวทั้งหมด (Total Length) มากที่สุด (14.82±0.85, 14.30±1.11 มิลลิเมตร) รองลงมาคือชุดการทดลองที่ 2 และ 4 (8.90±2.31, 0.00± 0.0 มิลลิเมตร) ตามลำดับ (p<0.05) กิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอส เอนไซม์ทริปซิน และเอนไซม์ไคโมทริปซิน มีค่ากิจกรรมเฉลี่ยในชุดการทดลองที่ 3 (0.73±0.004 Unit/hr/mg protein, 0.87±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein, 0.10±0.02 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein) สูงกว่าชุดการทดลองที่ 1 (0.59±0.00 Unit/hr/mg protein, 0.22±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein, 0.04±0.01 umol p-Nitroaniline/hr/mg protein) และประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนในอาหารไมโครเอนแคปซูลเลทมีค่า 4,674.47 mMol - Dl - Alanine/g feed/Trysin act จากการศึกษาพบว่า ลูกกุ้งมีการยอมรับอาหารไมโครเอนแคปซูลเลท และสามารถนำมาใช้ร่วมกับอาหารมีชีวิตสำหรับอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนได้                        จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอาหารที่เหมาะสมต่อการอนุบาลลูกกุ้งมดแดง คือ อาร์ทีเมียแรกฟักร่วมกับการให้อาหารไมโครเอนแคปซูลเลท ซึ่งส่งผลให้มีอัตรารอด และมีความยาวทั้งหมดสูงสุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับกิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอส เอนไซม์ทริปซิน และเอนไซม์ไคโมทริปซิน ที่พบแนวโน้มสูงกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ เช่นกัน
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/695
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62910235.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.