Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/688
Title: FACTORS PREDICTING DIABETES PREVENTION BEHAVIORS AMONG POSTPARTUM WOMEN WITH GESTATIONAL DIABETES MELLITUS
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
Authors: Jirapha Singtan
จิราภา สิงห์ตัน
TATIRAT TACHASUKSRI
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน
มารดาหลังคลอด
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
DIABETES PREVENTION BEHAVIORS
POSTPARTUM MOTHERS
GESTATIONAL DIABETES
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: Health behavior during postpartum of women with gestational diabetes mellitus might be significant for preventing women to have long-term diabetes. This study aimed to study diabetes prevention behaviors and factors predicting diabetes prevention behaviors. The sample 102 was postpartum women with gestational diabetes mellitus attending obstetrics and gynecology clinic or diabetes clinic at Chonburi Hospital, Queen Sirikit Naval Hospital and Rayong Hospital. Data were collected by self questionnaires including demographic data, perceived susceptibility, perceived benefits, perceived barriers, self-efficacy, social support, and diabetes prevention behaviors. The content validity index of questionnaires were 1.00, 1.00, .91, 1.00, 1.00 and 1.00  and the Cronbach’s alpha of questionnaires were .86, .91, .86, .71, .89 and .71 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and standard multiple regression. The results found that average score of diabetes prevention behaviors was 52.48 (SD = 6.14) The significant factors which predicted  diabetes prevention behaviors included self-efficacy (β = .639, p < .001) social support (β = .179, p = .025) perceived susceptibility perceived benefits and perceived barriers. The percentage of total variance explained by these factors among postpartum women with gestational diabetes mellitus was 56.3 % (R2 = .563, F2,99 = 63.680, p < .001) Findings suggest that nurses and healthcare professionals should promote self-efficacy and social support in postpartum women with gestational diabetes mellitus to prevention diabetes in their later lives.
พฤติกรรมสุขภาพหลังคลอดของมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อการป้องกันการเป็นโรคเบาหวานในระยะยาว การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดที่มารับบริการคลินิกสูติ-นารีเวชกรรม หรือคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และโรงพยาบาลระยอง  จำนวน 102 คน เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคเบาหวาน แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคเบาหวาน แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง  แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 1.00, .91, 1.00, 1.00 และ1.00 ตามลำดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86, .91, .86, .71, .89 และ .71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเฉลี่ยเท่ากับ 52.48 (SD = 6.14) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .639, t = 8.129, p < .001) และการสนับสนุนทางสังคม (β = .179, t = 2.274, p = .025) สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56.3 (R2 = .563, F2,99 = 63.680, p < .001) ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมแก่มารดาหลังคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/688
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920391.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.