Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/677
Title: THE SERVICE QUALITY OF RAYONG PROVINCIAL FISHERIES OFFICE
คุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง
Authors: Monticha Sonjumpa
มลธิชา สนจุมภะ
PONGSATEAN LUENGALONGKOT
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
Burapha University. Faculty of Political Science and Laws
Keywords: คุณภาพการบริการ
สำนักงานประมง
ระยอง
SERVICE QUALITY
RAYONG
PROVINCIAL FISHERIES OFFICE
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: This researched aims to study the service quality of Rayong Provincial Fisheries Office and to compare the service quality of Rayong Provincial Fisheries Office according to gender, age, education level, status, and types of work of the service recipients. The research used a questionnaire to gather data from the sample group which consisted of 384 service recipients of Rayong Provincial Fisheries Office. The recipients were divided into aquaculture farmers, fisheries entrepreneurs, and fishermen. The statistical tools used in data analysis were percentage, mean, Standard Deviation (SD), a t-test, One-Way ANOVA, and pair comparison by Scheffe’s method with the statistical significance of 0.05. The research revealed that the overall service quality Rayong Provincial Fisheries Office was at a high level. An individual analysis of each dimension of the service quality also revealed that all dimensions of the service quality was at a high level, which could be ranked in the following order: care for individual service recipients, trustworthiness, responsiveness towards service recipients, confidence of service recipients, and tangibility of the service. The comparison of the service quality of Rayong Provincial Fisheries Office according to personal information of the service recipients revealed that the service recipients with different statuses and types of work had a different opinion towards the service quality of Rayong Provincial Fisheries Office with the statistical significance of 0.05. However, the difference in gender, age, education level, and profession of the service recipients does not affect the opinion towards the service quality of Rayong Provincial Fisheries Office.
 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยองจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานะของผู้รับบริการ และกลุ่มงานที่เข้ารับบริการ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนผู้รับบริการที่สำนักงานประมงจังหวัดระยอง ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ประกอบการด้านการประมง และชาวประมง จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิต t- Test สถิติ One – way ANOVA และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธี Scheffe ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง โดยภาพรวมมีระดับคุณภาพการให้บริการดี เมื่อพิจารณาเป็นรายมิติพบว่า มีระดับคุณภาพการให้บริการดีทุกมิติ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มิติเอาใจใส่ผู้รับบริการเป็นรายบุคคล มิติความเชื่อถือไว้วางใจได้ มิติตอบสนองต่อผู้รับบริการ มิติให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และมิติความเป็นรูปธรรมของบริการ กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะของผู้รับบริการ และกลุ่มงานที่เข้ารับบริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยองไม่แตกต่างกัน
Description: Master Degree of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/677
Appears in Collections:Faculty of Political Science and Laws

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920233.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.