Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/618
Title: EFFECTIVENESS OF SELF-MANAGEMENT PROGRAM ON FOOD CONSUMPTION AND FLUID RESTRICTION BEHAVIORS AND CLINICAL OUTCOMES AMONG PATIENTS WITH CONGESTIVE HEART FAILURE
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการจำกัดน้ำดื่ม และผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะน้ำเกิน
Authors: Chanunchida Sukchanachot
ชนัญชิดา สุขชนะโชติ
APORN DEENAN
อาภรณ์ ดีนาน
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: โปรแกรมการจัดการตนเอง/ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการจำกัดน้ำดื่ม/ อาการทางคลินิก/ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะน้ำเกิน
SELF-MANAGEMENT PROGRAM/ EATING BEHAVIOR/ LIMITTING DRINKING WATER/ CLINICAL OUTCOMES/ PATIRNT WITH HEART FAILURE
Issue Date:  4
Publisher: Burapha University
Abstract: Patients with heart failure are frequently rehospitalized because of volume overload and its complication; however, appropriate self-management will prevent volume overload, reduce complication, and decrease severity of illness.  This quasi-experimental research was conducted to examine the effects of the self-management program related to food consumption and restriction of drinking water. Participants included patients with heart failure and volume overload who admitted in the hospital. Forty participants were recruited and randomly assigned into the experimental group (n = 20) and control group (n = 20). The experimental group received the Self-management program which consisted of knowledge, self-management skill training, goal setting, action plan collaborating, self-monitoring, feedback and evaluating, and continuing family support, whereas the control group received usual care. Outcomes were evaluated at week 0 and 6 by questionnaires of food consumption behavior and perceived severity of clinical symptoms. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, Independent t-test, Paired t-test, and ANCOVA. Results revealed that 6 weeks after the experiment, there were statistically significant higher mean scores of food consumption behavior than before the experiment and higher than those in the control group (t = -10.625, p < .01; F = 160.15, p < .001 respectively). In addition, the results were found the mean scores of perceived severity of clinical symptoms lower than baseline and in the control group (t = 16.084, p < .01; F = 8.41, p = .006 respectively). From research results, this Self-management program influenced on volume overload and severity of clinical outcomes, therefore this Self-management program should be implemented to patients with heart failure in order prevent further volume overload and its complication.
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีปัญหาต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยครั้งจากการที่ไม่สามารถควบคุมภาวะน้ำเกิน การจัดการตนเองที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันภาวะน้ำเกิน ลดภาวะแทรกซ้อนและลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการจำกัดน้ำดื่มในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะน้ำเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะน้ำเกินที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการจำกัดน้ำดื่ม  โดยการให้ความรู้ การตั้งเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ การให้แรงเสริม การสนับสนุนจากครอบครัว การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง นาน 6 สัปดาห์  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินผลลัพธ์ในสัปดาห์ที่ 0 และ 6 โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงอาการทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Independent t-test, Paired t-test และ ANCOVA  ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -10.625, p < .01; F = 160.15, p < .001 ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อาการทางคลินิกต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 16.084, p < .01;  F = 8.41, p = .006 ตามลำดับ). จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการตนเองที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีการจัดการตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการจำกัดน้ำดื่มที่ดีขึ้น และสามารถลดอาการรุนแรงของภาวะน้ำเกินได้ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินและภาวะแทรกซ้อนต่อไป
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/618
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61910039.pdf7.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.