Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/568
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorJeerawan Saowakonen
dc.contributorจีรวรรณ เสาวคนธ์th
dc.contributor.advisorSADAYU TEERAVANITRAKULen
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูลth
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2022-12-02T06:36:51Z-
dc.date.available2022-12-02T06:36:51Z-
dc.date.issued20/6/2022
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/568-
dc.descriptionMaster Degree of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study the instructional leadership affecting school effectiveness under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. The samples were 150 teachers in schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year of 2021 determined by using G*power program (Faul, Erdfelder, Lang, & Buchner, 2007, p.175) and stratified random sampling according to the school size. The data collection instrument was a five-level questionnaire and divided into two parts. The discrimination power of the questionnaire on instructional leadership was .38 - .91 with reliability of .98. The discrimination power of the questionnaire on school effectiveness was .38 - .91 with reliability of .97.  The statistics used to analyze the data were Mean, Standard Deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient), and Enter Multiple Regression Analysis) The results were as follows: 1.  The instructional leadership of school administrators under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 were at a high level in general and each aspect.  2.  The effectiveness of school under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 were at a high level in general and each aspect. 3.  The relationship between the instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 was correlatively at a high level in general and each aspect with significant of .01. 4.  The instructional leadership of school administrators can predict the effectiveness of school under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 up to 86.40 percent. The predictive equation in the form of raw scores was as follows: y   =    .561 + .020(X1) + .005(X2) + .833(X3)** and the standardize equation was as follows: Z   =    .021(Z1) + .005(Z2) + .906(Z3)**en
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power (Faul, Erdfelder, Lang, & Buchner, 2007, p.175) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย (Total sample size) 119 คน และเพื่อชดเชยอัตราการตอบกลับที่ร้อยละ 25 (นิศาชล รัตนมณี, 2562) ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifies random sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert, 1967, p.16) แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .38 - .91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 25 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .38 - .91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำเข้าตัวแปร (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1.  ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.  ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3.  ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.  ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยมีความสามารถการพยากรณ์ร้อยละ 86.40 และเขียนสมการพยากรณ์ในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้ y   =    .561 + .020(X1) + .005(X2) + .833(X3)** หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z   =    .021(Z1) + .005(Z2) + .906(Z3)**th
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectภาวะผู้นำth
dc.subjectภาวะผู้นำทางวิชาการth
dc.subjectประสิทธิผลของโรงเรียนth
dc.subjectLeadershipen
dc.subjectInstructional Leadershipen
dc.subjectSchool Effectivenessen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleINSTRUCTIONAL LEADERSHIP AFFECTING SCHOOL EFFECTIVENESS UNDER RAYONG PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1en
dc.titleภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1th
dc.typeINDEPENDENT STUDYen
dc.typeงานนิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920290.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.