Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/557
Title: FACTORS INFLUENCING BEHAVIORS FOR DELAYING PROGRESSION OF KIDNEY IMPAIRMENT AMONGPATIENTS WITH CHRONIC KIDNEY DISEASE STAGE 1-3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 
Authors: Nudchaporn Doommai
นุชพร ดุมใหม่
SAIFONE MOUNGKUM
สายฝน ม่วงคุ้ม
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: พฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต/ไตเรื้อรังระยะที่ 1-3/การรับรู้ประโยชน์/การรับรู้อุปสรรค/ความรอบรู้ทางสุขภาพ
BEHAVIOR FOR DELAYING PROGREESION OF KIDNEY IMPARIMENT/CHRONIC KIDNEY DISEASE STAGE 1-3/PERCEIVED BENEFIT/ PERCEIVED BARRIER/HEALTH LITERACY
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: Appropriate health behavior of patients with chronic kidney disease stage 1-3 help to delay kidney impairment and prevent complications, as a result of chronic kidney disease progression. This predictive correlational research aimed to examine behaviors for delaying progression of kidney impairment and factors influencing behaviors among patients with chronic kidney disease stage 1-3. There were 105 research participants who follow up at NCD clinic, Family Medicine Department and Outpatient Medicine Department, Suranaree University of Technology Hospital, Nakhon Ratchasima province. Simple random sampling was used. The instruments included Personal Information Questionnaire, The Delaying Kidney Progression Behavior Questionnaire, The Perceived Susceptibility of End-stage Renal Disease Questionnaire, The Perceived Benefit Questionnaire, The Perceived Barrier Questionnaire, The Health Literacy Questionnaire, and The Information Received Questionnaire. The Conbrach’s α coefficients were .88, .76, .72, .75, .80 and .88 respectively.                          The results showed that the average delaying kidney progression behavior was 41.29 (SD=3.91). Perceived benefit (β = .394), perceived barrier (β = -.215), health literacy (β = .203), and perceived susceptibility of end-stage renal disease (β = .201) could explain total variance of 35.3%  (R2=.353, p<.001) of behaviors for delaying progression of kidney impairment. However, Information received did not influence on delaying kidney progression behavior.                          The finding of this study suggests that nurses should develop interventions or programsvin health promotion for patients with chronic kidney disease stage 1-3 to help with appropriate behaviors by promoting perceived susceptibility of end-stage renal disease, perceived benefit appropriate health behavior, health literacy, and reduce perceived barrier.
พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินของโรค   การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3   กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ที่ภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวและแผนกอายุรกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 105 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบสอบถามการได้รับข้อมูลจากทางบุคลากรสุขภาพ   ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าครอนบาคแอลฟา .88, .76, .72, .75, .80 และ .88ตามลำดับ   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุคูณ                           ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 41.29 (SD=3.91)   โดยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (β = .394) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ (β = -.215) ความรอบรู้ทางสุขภาพ (β = .203) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (β = .201) ร่วมกันทำนายพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ได้ร้อยละ 35.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=.353, p<.001)   ส่วนการได้รับข้อมูลจากบุคลากรสุขภาพไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต                          ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำผลการศึกษามาพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมส่งเสริมให้ผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 มีพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต โดยมุ่งเน้นการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม  ความรอบรู้ทางสุขภาพ ตลอดจนการลดการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/557
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62910009.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.