Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/323
Title: Study of Problem Solving Ability and Learning Achievement on Addition and Subtraction using Polya's Problem Solving Process with Bar Model Technique for Fourth Grade Students
การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การบวกและการลบ  โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Daranee Ketprakob
ดารณี เกตุประกอบ
SOMKID INTEP
สมคิด อินเทพ
Burapha University. Faculty of Science
Keywords: ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา
บาร์โมเดล
การบวกและการลบ
Problem Solving Skills
Learning Achievement
Polya’ Problem Solving Process
Bar Model
Addition and Subtraction
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aimed 1) to compare problem solving ability on addition and subtraction for grade 4 students after they received learning activities using Polya's conceptual problem solving process with bar model technique with a 60% criterion and 2) to compare the learning achievement of grade 4 students on addition and subtraction after they received learning activities using Polya's conceptual problem solving process with bar modeling technique with a 60% criterion. The sample units consisted of 29 primary school students in grade 4/2 which were sampled by cluster random sampling with drawing lots. Research tools included learning lesson plans, activity sheets, problem solving test, and learning achievement test. The data were analyzed by mean, median and sign test. The results showed that1) after learning the activity,the grade 4 students had 38.00 points of median score of problem solving ability on addition and subtraction, which was statistically significant higher than the 60% criterion (30 points) at the level of 0.05,and 2) after receiving the activity, the grade 4 students had 14 points of median score of learning  achievement on addition and subtraction, which was statistically significant higher than the 60% criterion (12 points) at the level of 0.05.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง  การบวกและการลบ  หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 60  และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 เรื่อง  การบวกและการลบ  หลังได้รับการจัดกิจกรรม  การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล กับเกณฑ์ร้อยละ 60  กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2  จำนวน 29 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยวิธีการจับฉลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้  ใบกิจกรรม แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  มัธยฐาน  และสถิติการทดสอบด้วยเครื่องหมาย (sign test) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา  เรื่อง  การบวกและการลบ  มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 38.00 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 (30 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05)  และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ  มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 14.00 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 (12 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05) 
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/323
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920209.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.