Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/98
Title: GUIDELINES FOR SUSTAINABLE ECO-TOURISM MANAGEMENT AMONG ENTREPRENEURS ON KOH SAMED, AMPHOE MUEANG, RAYONG PROVINCE
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 
Authors: PREEDA SRIMEK
ปรีดา ศรีเมฆ
CHAKCHAI SUEPRASERTSITTHI
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
Burapha University. Graduate School of Public Administration
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน
สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน
ECO-TOURISM
SUSTAINABLE ECO-TOURISM
SITUATIONS OF SUSTAINABLE ECO-TOURISM
GUIDELINES FOR MANAGING SUSTAINABLE ECO-TOURISM
Issue Date:  18
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this study were to examine the opinions among entrepreneurs toward situations of sustainable eco-tourism on Koh Samed and to investigate their opinions on the guidelines for sustainable eco-tourism management of Koh Samed. The subjects participating in this study comprised 138 entrepreneurs, running business on Koh Samed. The instrument used to collect the data was a questionnaire, surveying the opinions among these entrepreneurs toward sustainable eco-tourism management of Koh Samed. The descriptive statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the study revealed that the subjects rated their opinions at the highest level for the statement that the tourism of Koh Samed was likely to be a sustainable eco-tourism.  Specifically, when considering each aspect of sustainable eco-tourism, the one in relation to political aspect was rated at the highest level by the subjects, followed by the aspect of sustainable eco-tourism in terms of economy, society and culture, and environment, respectively.  Regarding the guidelines for sustainable eco-tourism management of Koh Samed, it was shown that they were rated at the most appropriate level by the entrepreneurs. When considering each aspect of the guidelines, the one in relation to the tourism support staff was rated at the most appropriate level with the highest mean score. This was followed by the appropriate guidelines for sustainable eco-tourism management of Koh Samed in terms of its tourism marketing, tourism policies, land-use planning, land tenure, tourism regulations/standards, tourism trainings and licensing, park development, business credit/incentives, and tourism joint ventures, respectively.   
การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของผู้ประกอบการที่มีต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จำนวน 138 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดว่ามีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านการเมือง มีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านเศรษฐกิจ, สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสังคมและวัฒนธรรม และสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความเห็นต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนว่ามีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านเจ้าหน้าที่สนับสนุนทางด้านการท่องเที่ยว มีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ แนวทางการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านตลาดการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านนโยบายการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านการวางแผนการใช้พื้นที่, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านสิทธิ์ครอบครองที่ดิน, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวและกฎระเบียบ, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านการฝึกอบรมและการมีใบอนุญาตด้านการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านการพัฒนาพื้นที่อุทยาน, แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านสินเชื่อธุรกิจและการสนับสนุนเงินทุน และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านกิจการ ร่วมค้าทางด้านการท่องเที่ยว ตามลำดับ
Description: Master of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/98
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Public Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59930048.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.