Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPorntip Chobtrongen
dc.contributorพรทิพย์ ชอบตรงth
dc.contributor.advisorSIRIWAN SANGINen
dc.contributor.advisorศิริวรรณ แสงอินทร์th
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2023-04-20T02:19:03Z-
dc.date.available2023-04-20T02:19:03Z-
dc.date.issued17/4/2020
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/793-
dc.descriptionMaster Degree of Nursing Science (M.N.S.)en
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)th
dc.description.abstractTeenage pregnancy is a major public health problem that may affect the maternal-fetal attachment in pregnant adolescents. This predictive correlational research aimed to study maternal-fetal attachment and to examine factors predicting maternal-fetal attachment in pregnant adolescents. Samples were 170 pregnant adolescents attending antenatal clinics at Chonburi hospital and Banglamung hospital between July to September 2019. Data were collected by demographic and obstetrics questionnaire, the prenatal attachment scale for Thai pregnant adolescents, marital relationship questionnaire, the experience of intimate partner violence questionnaire and social support questionnaire. The reliabilities of questionnaires were .94, .87, .93 and .82, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and enter multiple regression analysis.                     Results showed that the mean score of maternal-fetal attachment in pregnant adolescents were at a good level. Factors that could predict maternal-fetal attachment in pregnant adolescents with statistical significance (p = .05), namely the marital relationship (β = .163), planning of pregnancy (β = .191), experience of intimate partner violence (β = .310), gestational age (β = .204) and social support (β = .321). All factors could explain 37.9% of the variance of maternal-fetal attachment with a statistical significance (F(5,164) = 20.046, p < .001).                     The findings of this study could be used as guidelines in the development of the nursing model so that promote the maternal-fetal attachment in pregnant adolescents.en
dc.description.abstractการตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก และปัจจัยทำนายความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลบางละมุง ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 170 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันที่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นไทยมีต่อทารกในครรภ์ แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส แบบสอบถามการถูกกระทำรุนแรงจากคู่สมรส และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .87, .93 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า                     ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกระดับดี ปัจจัยที่สามารถทำนายความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส (β = .163) การวางแผนการตั้งครรภ์ (β = .191) ประสบการณ์การถูกกระทำรุนแรงจากคู่สมรส (β = .310) อายุครรภ์ (β = .204) และการสนับสนุนทางสังคม (β = .321) โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ร้อยละ 37.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(5, 164) = 20.046, p < .001)                     ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้ดียิ่งขึ้นได้th
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นth
dc.subjectความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกth
dc.subjectสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสth
dc.subjectการวางแผนการตั้งครรภ์th
dc.subjectประสบการณ์การถูกกระทำรุนแรงจากคู่สมรสth
dc.subjectอายุครรภ์th
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมth
dc.subjectPREGNANT ADOLESCENTSen
dc.subjectMATERNAL-FETAL ATTACHMENTen
dc.subjectMARITAL RELATIONSHIPen
dc.subjectPLANNING OF PREGNANCYen
dc.subjectEXPERIENCE OF INTIMATE PARTNER VIOLENCEen
dc.subjectGESTATIONAL AGEen
dc.subjectSOCIAL SUPPORTen
dc.subject.classificationNursingen
dc.titleFACTORS PREDICTING MATERNAL-FETAL ATTACHMENTIN PREGNANT ADOLESCENTSen
dc.titleปัจจัยทำนายความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นth
dc.typeTHESISen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60910030.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.