Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/690
Title: THE EFFECTS OF EXPERIENTIAL LEARNING MANAGEMENT WITH SSCS MODEL ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING AND CONNECTION ABILITIES                       OF MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS
ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Thanjai Koompapun
ธารใจ กุมภาพันธ์
KONGRAT NUALPANG
คงรัฐ นวลแปง
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์
รูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
EXPERIENTIAL LEARNING MANAGEMENT
SSCS MODEL
MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING
MATHEMATICAL CONNECTION
Issue Date:  17
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to compare mathematical problem solving ability of Mathayomsuksa 5 students after learning with the experiential learning management with SSCS model with the criterion of 70 percent, 2) to compare mathematical connection ability of Mathayomsuksa 5 students after learning the experiential learning management with SSCS model as compare with the criterion of 70 percent . The sample was 41 students of Mathayomsuksa 5/3 in the second semester of 2021 academic year. They were selected by the cluster random sampling. The research instruments used in this research consisted of 1) six lesson plans with experiential learning management with SSCS model. 2) Mathematical problem solving ability and mathematical connection ability test with reliability of 0.79. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation and t-test for one sample. Research results were; 1) the mathematical problem solving ability after learning with the experiential learning with SSCS model was higher than the criterion of 70 percent at the .05 level of significance. 2) The mathematical connection ability after learning with the experiential learning with SSCS model was higher than the criterion of 70 percent  at the .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/690
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920111.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.