Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/626
Title: The investigation of current divergence and convergence in the coastal area of Trat province using a hydrodynamic model
การศึกษาไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำบริเวณชายฝั่งจังหวัดตราด โดยใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์
Authors: Sujitra Boonjun
สุจิตรา บุญจันทร์
ANUKUL BURANAPRATHEPRAT
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
Burapha University. Faculty of Science
Keywords: ไดเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำ
คอนเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำ
จังหวัดตราด
แบบจำลองอุทกพลศาสตร์
Current divergence
Current convergence
Trat province
Hydrodynamic model
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: The purpose of this research is to study circulation patterns, and current divergence and convergence in the coastal area of Trat Province in 2018 using the Princeton Ocean Model (POM). The results showed that the circulation patterns were mainly controlled by the monsoon winds. The depth-averaged current magnitude was high in the southwest monsoon with a direction from the northwest to the southeast, and it was low in the northeast monsoon with a direction from the southeast to the northwest. The coastal area has small divergences alternating small convergence throughout the year. Large divergence and convergence were found near the north coast of the study area, and the west coast of Chang Island, Mak Island, and Kood Island. They were also found in Trat Bay but in smaller sizes. During the southwest monsoon, the current magnitude was high, and divergence/convergence appeared clearer than in the other monsoon seasons. The monsoon winds were the main factor controlling the circulation patterns, resulting in the seasonal variations of current divergence/convergence. The geographical and coastal features of Trat Province were other factors affecting circulations and current divergence/convergence. The convergence areas were found to relate to red tide and jellyfish bloom development. However, those phenomena are also controlled by other biological and physical factors.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการไหลเวียนกระแสน้ำ การเกิดไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำ บริเวณชายฝั่งจังหวัดตราดในปี 2561 โดยใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ Princeton Ocean Model (POM) ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการไหลเวียนกระแสน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษาถูกควบคุมโดยอิทธิพลของลมเป็นหลัก โดยกระแสน้ำเฉลี่ยตามความลึกมีความเร็วสูงในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีทิศทางการไหลของกระแสน้ำมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และกระแสน้ำเฉลี่ยตามความลึกมีความเร็วต่ำในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีทิศทางการไหลมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ศึกษา ผลจากแบบจำลองยังพบว่าพื้นที่บริเวณชายฝั่งมีการเกิดไดเวอร์เจนซ์ขนาดเล็กสลับกับการเกิดคอนเวอร์เจนซ์ขนาดเล็กตลอดทั้งปี ชายฝั่งด้านเหนือของพื้นที่ศึกษาและชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะกูด พบการเกิดไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณชายฝั่งด้านในอ่าวตราด ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่กระแสน้ำมีความเร็วสูง ไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์มีลักษณะที่เด่นชัดกว่าช่วงฤดูมรสุมอื่น ลมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อกระแสน้ำตามฤดูกาล จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และชายฝั่งของจังหวัดตราด ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในพื้นที่ ส่งผลให้ไดเวอร์เจนซ์และคอนเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และพบว่าบริเวณที่มีการเกิดคอนเวอร์เจนซ์ของกระแสน้ำในจังหวัดตราด มีความสอดคล้องกับบริเวณที่พบปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี (red tide) และปรากฎการณ์การรวมกลุ่มของแมงกะพรุน แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางกายภาพอื่น ๆ ด้วย
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/626
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60910016.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.