Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/604
Title: THE DEVELOPMENT OF A POSITIVE THINKING SKILL SCALE FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN EASTERN SPECIAL DEVELOPMENT ZONE
การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Authors: Ammara Phadungsap
อมรา ผดุงทรัพย์
PIYATHIP PRADUJPROM
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
Burapha University. College of Research Methodology and Cognitive Science
Keywords: มาตรวัดทักษะกรคิดเชิงบวก
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ปกติวิสัย
นิสิตระดับปริญญาตรี
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
POSITIVE THINKING SKILLS SCALE
CONFIRMATORY FACTOR ANALYSIS
NORMS
UNDERGRADUATE STUDENTS
EASTERN SPECIAL DEVELOPMENT ZONE
Issue Date:  4
Publisher: Burapha University
Abstract: The objectives of this study were to develop a positive thinking skill scale, test its construct validity, and create test norms for undergraduate students in Thailand's Eastern Special Development Zone. The research was divided into three phases: 1) developing an eight-factor Positive Thinking Skills Scale for undergraduate students, 2) testing the scale’s construct validity using second-order confirmatory factor analysis from a sample of 450 undergraduate students, and 3) constructing scale norms from a sample of 1,200 students by taking the stanine score or percentile position defined as the score range of the eight measures and dividing the stanines into three equal intervals. The research findings were                    1. Positive Thinking Skills Scale consisted of 8 factors with discriminant indices ranging from .29 to .77, and an alpha reliability coefficient of .93. The factors were (1) Transform Negative Thoughts, (2) Highlight Positive Aspects, (3) Interrupt Pessimistic Thoughts, (4) Practice Positive Thinking, (5) Breakdown a Problem, (6) Initiate Optimistic Beliefs, (7) Challenge Pessimistic Thoughts, and (8) Generate Positive Feelings, which each factor containing five items. The reliability values for each dimension were .71, .80, .76, .82, .78, .81, .71, and .76, respectively.                    2. The goodness of fit indices were χ2 = 936.95, df = 640, χ2/ df = 1.46, RMSEA = .03, SRMR = .05, GFI = .91, CFI = .97, indicating that the constructs were consistent with empirical data. All factor loadings were positive and statistically significant at the .01 level.                    3. Test norms were divided into three levels: very good, with a percentile higher than 77 or higher (Stanine 7-9), good, with a percentile ranging from 23 to 77 (Stanine 4-6), and fair with a percentile less than or equal to 23 (Stanines 1-3).  
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก และสร้างปกติวิสัยของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ด้าน 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน และ 3) การสร้างปกติวิสัยของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 คน โดยนำคะแนนสเตไนน์หรือตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ที่ได้มากำหนดเป็นช่วงคะแนนของมาตรวัดทั้ง 8 ด้าน เปรียบเทียบเป็นสเตไนน์ และแบ่งออกเป็น 3 ช่วง เท่า ๆ กัน มาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยปรากฏว่า                    1. มาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก มีค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .29 - .77 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .93 มีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ด้าน ซึ่งมีข้อคำถามด้านละ 5 ข้อ ได้แก่ (1) การเปลี่ยนความคิดด้านลบ (2) สิ่งสำคัญของด้านบวก (3) การยับยั้งความคิดในแง่ร้าย (4) การฝึกคิดเชิงบวก (5) การหยุดยั้งปัญหา (6) การเริ่มต้นความเชื่อในแง่ดี (7) การท้าทายกับความคิดในแง่ร้าย และ (8) การสร้างความรู้สึกด้านบวก ซึ่งมีค่าความเที่ยงแต่ละด้านเท่ากับ .71 .80 .76 .82 .78 .81 .71 และ .76  ตามลำดับ                    2. โมเดลมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จาก  χ2= 936.95, df = 640, χ2 / df = 1.46, RMSEA = .03, SRMR = .05, GFI = .91 และ CFI = .97 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณา χ2 / df ที่มีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนี RMSEA ที่มีค่าน้อยกว่าน้อยกว่า .05 ค่าดัชนี SRMR มีค่าน้อยกว่าน้อยกว่า .08 ค่าดัชนี GFI และ CFI ที่มีค่าใกล้ 1 แสดงว่าโมเดลมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกมีความตรงเชิงโครงสร้าง                    3. ปกติวิสัยของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์มากกว่า 77.00 ขึ้นไป (สเตไนน์ที่ 7-9) ระดับดี มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์มากกว่า 23.00 ถึง 77.00 (สเตไนน์ที่ 4-6) และระดับพอใช้ มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23.00 (สเตไนน์ที่ 1-3)
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/604
Appears in Collections:Faculty of College of Research Methodology and Cognitive Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61910035.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.