Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/595
Title: THE EFFECTS OF LEARNING MANAGEMENT BY USING OPEN APPROACH WITH SSCS MODEL ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ABILITY AND  LEARNING ACHIEVEMENT OF FIFTH GRADE STUDENTS
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับรูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Kasitinat Juntuma
กษิตินาถ จันทุมา
PALADORN SUWANNAPHO
ผลาดร สุวรรณโพธิ์
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: วิธีการแบบเปิด,รูปเเบบSSCS,ความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
OPEN-APPROACH/ SSCS MODEL/ PROBLEM-SOLVING ABILITY/ ACHIEVEMENT
Issue Date:  4
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were to compare the students' mathematical problem-solving ability and mathematics learning achievement with 70 percent criterion of fifth grade students after obtaining organizing mathematics learning activities by using open approach with SSCS model. The sample of this study was 28 students in fifth grade in the second semeter of the 2020 academic year at Piboonbumpen demonstration school Burapha university. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments were 6 lesson plans, a mathematical problem-solving ability test (with the reliability of .89) ,and The mathematics achievement test of inequality (with the reliability of .80). the data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test for one sample. The findings were as follow : 1. The mathematical problem-solving ability of the sample group after obtaining organizing mathematics learning activities by using open approach and SSCS model was higher than 70 percent criterion at .05 level of statistical significance. 2. The mathematical learning achievement of the sample group after obtaining organizing mathematics learning activities by using open approach and SSCS model was higher than 70 percent criterion at .05 level of statistical significance.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องปริมาตรเเละความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เเละ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องปริมาตรเเละความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้เเก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิต"พิบูลบำเพ็ญ"มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างเเบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เเผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเเบบเปิดร่วมกับรูปเเบบ SSCS จำนวน 6 เเผน  แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ซึ่งสรุปผลวิจัยได้ดังนี้  1. ความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเเบบเปิดร่วมกับรูปเเบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเเบบเปิดร่วมกับรูปเเบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/595
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61910079.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.