Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/594
Title: EFFECTS OF USING INQUIRY APPROACH AND SOCIAL CONSTRUCTIVISM ON SOCIAL STUDIES LEARNING ACHIEVEMENT AND PROBLEM SOLVING ABILITY OF MATHAYOMSUKSA TWO STUDENTS
ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาตามแนวสืบสอบร่วมกับ แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Nattaporn Parsook
ณัฐพร ผาสุข
CHANPHORN PROMMAS
จันทร์พร พรหมมาศ
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การเรียนการสอนตามแนวสืบสอบ
แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
ความสามารถในการแก้ปัญหา
INQUIRY APPROACH
SOCIAL CONSTRUCTIVISM
SOCIAL STUDIES ACHIEVEMENT
PROBLEM SOLVING ABILITY
Issue Date:  4
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were to compare social studies learning achievement and problem solving ability of students with pretest–posttest using inquiry approach and social constructivism. The teaching approach were 3 steps; Engage, Do and Expand. The samples were 40 Mathayomsuksa two students in 2021 academic year at Chumchonbanangvean School Chonburi province. They were cluster sampling. The research instruments consisted of inquiry approach and social constructivism lesson plans of social studies module 3 Economic, the social studies learning achievement test and the problem solving abilities test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent sample t-test.                    The research finding were as follow: 1) students' social studies learning achievement after using inquiry approach and social constructivism were higher significantly than before at the .05 level and 2) students' problem solving ability after using inquiry approach and social constructivism were higher significantly than before at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้น คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นขยายประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชุมชนบ้านอ่างเวียน จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent sample                     ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/594
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920219.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.