Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/592
Title: PROCESSING AND TESTING ACCEPTANCE OF READY-TO-COOK SEA BASS PRODUCT IN RAYONG PROVINCE
การแปรรูปและทดสอบการยอมรับ ผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวพร้อมปรุง (Ready to Cook) ในจังหวัดระยอง
Authors: Patteeya Promsupa
พัทธียา พรหมสุภา
SARUNYA LERTPUTTARAK
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
Burapha University. Graduate School of Commerce
Keywords: การยอมรับของผู้บริโภค/ ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์/ การแปรรูป/ ระดับการยอมรับ/ ความต้องการซื้อของผู้บริโภค/ การรับรู้
CONSUMER ACCEPTANCE/ PRODUCT INFORMATION/ PROCESSING/ ACCEPTANCE LEVEL/ CONSUMER PURCHASE REQUIREMENT/ PERCEPTION
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aims to study the processing of fresh seabass products to ready-to-cook sea bass, personal consumption behavior factors, product acceptance and the price of sea bass ready to cook as well as to compare the acceptance of fresh seabass products and ready-to-cook sea bass. This research is the processing of sea bass products into ready-to-cook sea bass. The research is quantitative research. The samples composed of restaurant operators, chefs in restaurants, cooking teacher, consumers who choose to buy sea bass for eating at least twice a month for their own cooking, both male and females aged between 20 years – 65 who live in Mueang District, Ban Chang District, Ban Khai District, Klaeng District, Pulak Daeng District in Rayong Province. A total of 30 people collected data by using questionnaires. The data analysis uses the SPSS statistical program. There are statistics that can be used as follows: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation. The hypothesis was tested by using One-sample t-test and Paired-sample t-test to compare with the average consumption acceptance level. The results showed that the level of consumer acceptance of price features and ready-to-cook frozen sea bass products after being cooked on all five menus was not the highest level (which averaged less than or equal to 4.20). Consumer acceptance level of ready-to-cook fresh sea bass products after cooking the five different sea bass meat dishes, with the level of consumer acceptance of frozen sea bass products ready to cook after cooking the five different sea bass meat dishes, and the characteristics of fresh sea bass products are ready to cook with the characteristics of ready-to-cook frozen sea bass products. There are different levels of acceptance, and in terms of packaging of fresh snapper products with the packaging side of frozen sea bass products. There is no different level of acceptance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสดสู่ปลากะพงขาวพร้อมปรุงและศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลพฤติกรรมการบริโภค และการยอมรับผลิตภัณฑ์ และราคาปลากะพงขาวพร้อมปรุง รวมทั้งเปรียบเทียบการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสด และปลากะพงขาวพร้อมปรุง งานวิจัยนี้เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวเป็นปลากะพงขาวพร้อมปรุง และเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร พ่อครัวแม่ครัวในร้านอาหาร ครูสอนทำอาหาร ผู้บริโภคที่เลือกซื้อปลากะพงขาวเพื่อรับประทานที่มีการซื้ออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งเพื่อนำไปประกอบอาหารเอง ทั้งเพศชาย และ เพศหญิงอายุตั้งแต่ 20 ปี – 65 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านฉาง อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง อำเภอปลวกแดง ในจังหวัดระยอง จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีสถิติที่เลือกใช้ ดังนี้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ One-sample t-test และ Paired- sample t-test เพื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับทางการบริโภค ผลการวิจัย พบว่า ระดับการยอมรับทางการบริโภคต่อด้านคุณลักษณะ ด้านราคา และผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวแช่แข็งพร้อมปรุงหลังจากที่นำไปประกอบอาหารเมนูต่าง ๆทั้ง 5 เมนูนั้น ระดับการยอมรับไม่อยู่ในระดับมากที่สุด (ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.20) ในส่วนของด้านกรรมวิธีเพื่อการเตรียมเนื้อปลากะพงขาวพร้อมปรุงแบบแช่แข็ง และด้านบรรจุภัณฑ์ มีระดับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด (ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 4.20) และในการเปรียบเทียบความแตกต่างนั้น ระดับการยอมรับทางการบริโภคต่อผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสดพร้อมปรุงหลังจากที่นำไปประกอบอาหารเมนูเนื้อปลากะพงขาวต่าง  ๆ ทั้ง 5 เมนู กับระดับการยอมรับทางการบริโภคต่อผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวแช่แข็งพร้อมปรุงหลังจากที่นำไปประกอบอาหารเมนูเนื้อปลากะพงขาวต่าง ๆทั้ง 5 เมนู และด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวสดพร้อมปรุงกับด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวแช่แข็งพร้อมปรุง มีระดับการยอมรับแตกต่างกัน และในส่วนของด้านบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ปลากะพงสดกับด้านบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวแช่แข็ง มีระดับการยอมรับไม่แตกต่างกัน
Description: Master Degree of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/592
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Commerce

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62710050.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.