Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/581
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKittima Deeprachaen
dc.contributorกิตติมา ดีประชาth
dc.contributor.advisorTAKAYA SANGAYOTINen
dc.contributor.advisorทักษญา สง่าโยธินth
dc.contributor.otherBurapha University. Graduate School of Commerceen
dc.date.accessioned2022-12-02T06:49:18Z-
dc.date.available2022-12-02T06:49:18Z-
dc.date.issued11/11/2022
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/581-
dc.descriptionMaster Degree of Business Administration (M.B.A.)en
dc.descriptionบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)th
dc.description.abstract     The study on service satisfaction and innovative development guidelines for local tax collection of a local government organization in Chonburi province affected by the epidemic situation of the Coronavirus 2019 aimed to 1) study the level of satisfaction of service users towards the current tax payment channel of a local administrative organization in Chonburi province. 2) study the condition of problems and obstacles in collecting local taxes that were affected by the COVID-19 epidemic situation and 3) study the innovative development guidelines for collecting local taxes affected by the COVID-19 epidemic situation. Study in 2022. This research is a mixed method research by collecting both quantitative and qualitative data. Quantitatively, the study sample consisted of 398 local government taxpayers, divided into 199 self-paying groups at local administrative organizations and 199 bank-paying groups, by Simple Random Sampling. Descriptive statistics were used to survey satisfaction with current tax payment channels, and reference statistics were used to test research hypotheses that people used different forms of tax payment from different tax payment channels. Satisfaction with different tax payment channels. As for the qualitative data, data were collected from 2 sample groups, namely a group of 10 tax collecting officers, collecting data by focus group discussion, and a group of local administrative organization executives, which the heads of government agencies. 3 people who are policy makers on revenue collection collected data by in-depth interviews. Qualitative results were analyzed using Content Analysis techniques. The results of the research revealed that the public opinion on tax payment channels currently used as a whole showed that the respondents had a high level of opinion, with the service of the staff having the highest score, followed by is the convenience of the payment process. Lastly, the convenience of traveling. The hypothesis testing revealed that the people who used the tax payment modes from different tax payment channels had the same satisfaction with the tax payment channels. The summary of tax collection problems affected by the 2019 coronavirus epidemic found that tax revenues have declined as local governments are located in tourist destinations where their main income comes from taxation. Tourism, shopping malls, many businesses closed. People who are liable to pay taxes suffer from the epidemic situation of the epidemic. There are reasons for not paying taxes or applying for a tax waiver, resulting in the reduction of tax collection by local government organizations to meet the goals. Innovative development model in local tax collection, local government organizations have an idea to use the E-payment system to increase the channels of tax payment through which the E-payment system allows citizens to download receipts by themselves to reduce the number of citizens which comes to contact the local government to reduce congestion, increase convenience and efficiency of tax collection.en
dc.description.abstract     การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการบริการ และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อช่องทางการชำระภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำการศึกษาในปี 2565 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน Mixed Method โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้เสียภาษีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการศึกษา จำนวน 398 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ชำระด้วยตนเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 199 คน และกลุ่มที่ชำระผ่านธนาคาร จำนวน 199 คน โดยใช้การสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)  ใช้สถิติเชิงพรรณาเพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อช่องทางการชำระภาษีในปัจจุบัน และใช้สถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ว่า ประชาชนผู้ใช้รูปแบบในการชำระภาษีจากช่องทางการชำระภาษีแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อช่องทางการชำระภาษีแตกต่างกัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจัดเก็บภาษี จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม Focus Group และกลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านจัดเก็บรายได้ จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่าข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนต่อช่องทางการชำระภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาพรวมพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการของเจ้าหน้าที่มีค่าคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสะดวกของขั้นตอนการชำระเงิน ลำดับสุดท้าย ด้านความสะดวกในการเดินทาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าประชาชนผู้ใช้รูปแบบในการชำระภาษีจากช่องทางการชำระภาษีแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อช่องทางการชำระภาษีไม่แตกต่างกัน การสรุปสภาพปัญหาการจัดเก็บภาษีซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลงเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ห้างร้าน กิจการหลายแห่งปิดกิจการ ประชาชนผู้มีหน้าที่ชำระภาษีได้รับความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค มีเหตุไม่ชำระภาษี หรือขอผ่อนผันการชำระภาษี ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีได้ลดลงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวคิดจะนำระบบ E-payment มาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางในการชำระภาษี ซึ่งระบบ E-payment ประชาชนสามารถดาวน์โหลดใบเสร็จได้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการลดจำนวนประชาชนที่เข้ามาติดต่อที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการลดความแออัด เพิ่มความสะดวก และประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีth
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectการจัดเก็บภาษี/นวัตกรรมth
dc.subjectTax collection/innovationen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleSatisfaction in Service and Innovative Development Guidelines for Local Tax Collection of a Local Government Organization in Chonburi Province Affected by the 2019 Coronavirus Epidemicen
dc.titleความพึงพอใจในการบริการและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019th
dc.typeINDEPENDENT STUDYen
dc.typeงานนิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Commerce

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63710007.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.