Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/570
Title: THE ADAPTATION OF CABIN CREW TO PERFORM IN PREMIUM SERVICE BUSINESS UNDER COVID-19 CIRCUMSTANCE
การปรับตัวของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อไปปฏิบัติงานในธุรกิจบริการมูลค่าสูง ภายใต้สถานการณ์โควิดสิบเก้า (COVID-19)
Authors: Pornrat Peerawongsakul
พรรัตน์ พีรวงศ์สกุล
NAKORN INDRA-PAYOONG
ณกร อินทร์พยุง
Burapha University. Faculty of Logistics
Keywords: พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
การปรับตัว
บริการมูลค่าสูง
โควิด 19
CABIN CREW
ADAPTATION
PREMIUM SERVICE
COVID-19
Issue Date:  20
Publisher: Burapha University
Abstract: This research is a qualitative research on the adaptation of cabin crew to perform in premium service businesses under the COVID-19 circumstance. The purposes of this research were to study the problem of cabin crew career transition to high-value service sectors, to analyze employee characteristics required by premium service enterprises and to suggest ways to support cabin crew or similar jobs can be efficiently adapted to operate in the high-value service sector, during the COVID-19 pandemic. The tools used to collect this research data It consists of documented research and semi-structured in-depth interviews. The results showed  the things that cabin crew had to adjust to in order to change jobs the most were 1. Lower income, 2. Work schedule, and 3. New skills needed in office operations. The advantage of a cabin crew in a career transition to a premium service business is that the appearance, skills, personality, language and attributes of a cabin crew are the same as those of a business person. And what need to add is business skills, technological know-how and specific documents.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง การปรับตัวของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อไปปฏิบัติงานในธุรกิจบริการมูลค่าสูง ภายใต้สถานการณ์โควิดสิบเก้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับเปลี่ยนอาชีพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสู่งานภาคบริการมูลค่าสูง, เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของพนักงานที่องค์กรธุรกิจภาคบริการมูลค่าสูงต้องการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหรือพนักงานที่มีลักษณะงานคล้ายกัน สามารถปรับเปลี่ยนไปปฏิบัติงานในธุรกิจภาคบริการมูลค่าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงภาวการณ์แพร่ระบาดโควิดสิบเก้า เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าสิ่งที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องปรับตัวเพื่อเปลี่ยนงานมากที่สุด คือ 1. รายรับที่ลดลง 2. ตารางเวลาการทำงาน 3. ทักษะใหม่ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานประจำสำนักงาน  ส่วนสิ่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้เปรียบในการปรับเปลี่ยนอาชีพไปปฏิบัติงานในธุรกิจภาคบริการมูลค่าสูง คือ เพราะด้วยรูปลักษณ์, ทักษะ, บุคลิกภาพ, ภาษาและคุณสมบัติต่าง ๆ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก็เป็นลักษณะเดียวกับบุคลากรที่ธุรกิจภาคบริการมูลค่าสูงต้องการ  และสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือทักษะทางธุรกิจ, ความรู้ทางเทคโนโลยี และงานเอกสารเฉพาะทาง
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/570
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64920592.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.