Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/565
Title: THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING BY USING CONSTRUCTIONISM THEORY FOR GRADE 10 STUDENTS   
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Suranchana Cumrod
สุรัญชนา คำรอด
SOMSIRI SINGLOP
สมศิริ สิงห์ลพ
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
การคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
CONSTRUCTIONISM
LEARNING ACHIEVEMENT
ANALYTICAL THINKING
Issue Date:  20
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were to study science learning achievement and analytical thinking after learning by using Constructionism theory and after learning with the 70 percent critetia. The participants were 30 tenth grade students from Benjamanusorn School, who studied in the second semester of academic year 2021, selected by cluster random sampling. The research instruments consisted of ; 1) Lesson plans on the topic of Equilibrium, 2) Learning achievement test, 3) Analytical thinking test. The data were analyzed with t-test for dependent sample and t-test for one sample.           The results of this study indicated that:           1. The post-test mean score of physics learning achievement on "Mechanical Equlibrium" after by using Constructionism theory were higher than the pre-test at the .05 significance level.           2. The post-test mean score of physics learning achievement on "Mechanical Equlibrium" after by using Constructionism theory were higher than the 70% set criterion at the .05 significance level.           3. The post-test mean score of analytical thinking after by using Constructionism theory were higher than the pre-test at the .05 significance level.           4. The post-test mean score of analytical thinking after by using Constructionism theory were higher than the 70% set criterion at the .05 significance level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนกับหลังเรียนและหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่อง สมดุลกล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบ t-test แบบ dependent sample และ การทดสอบ t-test แบบ one samples ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา วิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมดุลกล มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา วิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมดุลกล มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญามีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญามีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/565
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62910045.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.