Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/546
Title: Development of mechanical lateral transfer device for patient transfer staff in a hospital
การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบสำหรับผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
Authors: Siwakorn Jiraharuetai
ศิวกร จิรหฤทัย
PRAVENA MEEPRADIT
ปวีณา มีประดิษฐ์
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: ผู้ปฎิบัติงานเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแนวราบ
อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบ
ความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์
Patient transfer staff
Lateral transfer task
Mechanical lateral transfer device
Ergonomic risk
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract:  The objective of this research is to develop a device to help move the patient laterally and compare REBA score, muscle contraction force and the length of time in lateral transfer task between the manual patient transfer and the assistive devices which consists of a lying pad and pulling device. The results of this study showed that the use of a mechanical lateral transfer device had a REBA risk score of 3.88, which was statistically significant lower than that of a manual patient transport with a 9.66 REBA risk score (P < 0.001). The maximum voluntary contraction value (%MVC) of the latissimus dorsi muscle was 19.84% and the Erector spinae muscle was 28.46%, which was statistically significant less than that of the manual patient transfer with the maximum voluntary contraction value (%MVC) of the latissimus dorsi muscle was 32.46% and the Erector spinae muscle was 34.46% (P < 0.01). The mean time for manual patient transfer was 29 seconds, which was significantly less than the mean time for 79 seconds for patient transfer with an assistive device (P< 0.001) This research shows that the use of a mechanical lateral transfer device can reduce the ergonomic risks of patient transfer staffs, including posture and muscle contraction force. 
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบ และเปรียบเทียบคะแนนท่าทางในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แรงการหดตัวของกล้ามเนื้อ และระยะเวลาที่ใช้ระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยแรงมือและอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอันซึ่งประกอบด้วยเบาะรองนอนและอุปกรณ์ช่วยในในการดึง ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบมีคะแนน REBA 3.88 คะแนน ซึ่งน้อยกว่าการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยแรงมือที่มีคะแนน REBA 9.66 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบมีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (%MVC) มีค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ 19.84% และค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้ออีเร็คเตอร์สไปเน่ 28.46% ซึ่งน้อยกว่าการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยแรงมือที่มีค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ 32.46% และค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้ออีเร็คเตอร์สไปเน่ 34.46% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยแรงมือใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 29 วินาที ซึ่งน้อยกว่าการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 79 วินาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแนวราบสามารถลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อันได้แก่ ท่าทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อส่วนหลังได้ 
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/546
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920345.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.