Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/538
Title: FACTORS RELATED TO HEALTH LITERACY FOR PREVENTION OF RECURRENT STROKE IN OLDER ADULT STROKE SURVIVORS
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ของผู้สูงอายุที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
Authors: Harit Sianghwong
หฤษฎ์ เซี่ยงหว็อง
PORNCHAI JULLAMATE
พรชัย จูลเมตต์
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ผู้สูงอายุ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
โรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
OLDER ADULTS
HEALTH LITERACY
RECURRENT STROKE
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: Stroke is a neurological disease and can also recurrent after surviving causing disability and increasing mortality. Health literacy is important to prevention recurrent stroke. This study aimed descriptive research. The purpose of this research study health literacy in prevention recurrence stroke and to study the factors related to health literacy in prevention recurrent stroke . The sample included of older adult people aged 60 years and older diagnosed by physician as ischemic stroke and visit attended at Ban Phaeo General Hospital (Public Organization) of 105 people. The simple random sampling method was use. The research instrument were a personal data questionnaire, Thai geriatric depression scale, Trust in physician questionnaire, Social support questionnaire, Health perception in ischemic stroke questionnaire and Health literacy questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, pearson's product moment correlation coefficient and spearman's rank correlation. The results found that older adults with stroke had in a moderate level of health literacy in prevention recurrent of stroke (M = 66.85, SD = 8.151) and factors that were positively moderately correlated with the health literacy in prevention recurrent of stroke survivors in older adult with statistical significant factors included a patient-healthcare provider interpersonal relationship (r = .550, p < .001), social support (r = .548, p < .001) and Health perception (r = .484, p < .001). There are no correlation educational level and depression with health literacy to prevention recurrent stroke in older adults survivors statistically significant (p > .05) The suggestion in the study are this nurses and healthcare providers must be awareness and emphasize on factors related to health literacy namely interpersonnel relationship between patients and health care provider, sosial support and health perception for prevention promote nursing activities and create a program to health literacy prevent recurrence of stroke.
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หลังจากการรอดชีวิต ก่อให้เกิดความพิการและเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบหรืออุดตัน และมารับบริการในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 105 ราย ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินความไว้วางใจในบุคลากรทางสุขภาพ แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง (M = 66.85, SD = 8.151) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ (r = .550, p < .001) การสนับสนุนทางสังคม (r = .548, p < .001) และ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = .484, p < .001) ส่วนระดับการศึกษา และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ พยาบาล และบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ภาวะสุขภาพ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพยาบาล และสร้างเป็นโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/538
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920346.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.