Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/537
Title: FAKE NEWS IN THE LINE APPLICATION AMONG ELDERLY VILLAGE HEALTH VOLUNTEERS (VHV) IN PRACHINBURI PROVINCE
ข่าวปลอมในแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดปราจีนบุรี
Authors: Nuttapat Sonklin
ณัฎฐพัชร์ ซ่อนกลิ่น
KANGWAN FONGKAEW
กังวาฬ ฟองแก้ว
Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ข่าวปลอม, ผู้สูงอายุ, แอปพลิเคชันไลน์
Fake News Elderly Line application
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: This study aimed to explore fake news content in Line application circulated among village health volunteers (VHV) in Prachinburi province. The qualitative research methodology, based on the seven characteristics of fake new approach, was employed using content analysis of fake news circulated in Line application among fourteen VHV in Prachinburi province. The forms of text, illustrations, voice clips, and videos were collected. The results found that none of date, month, year, and source was presented among majority of fake news. If the sources are mentioned, reliable persons or organizations are cited. Most of fake news is circulated among groups of close friends, such as school friends and colleagues, or extended family members. Most fake news is found in text or short article forms focusing on health, politic, belief, and various warning issues. The forms of texts, illustrations, videos, and voice clips can be mutually found in the same news item. The most popular characteristic of fake news was the fabrication by citing reliable individuals or organizations to make the content become important for audiences. The keywords of please share, should share, or do not keep this message to yourself are found at the end of this type of fake news. More than one characteristic, such as fabrication and impostor in the same news item, are found among some fake news; and are mostly found in the exaggerated content of health issues, especially infected deceases, healthcare, or nutrition. The fake news item collected in this study were investigated via the Anti-Fake News Center and other related organizations. It was found that some fake news items required advance skills and data triangulation among other sources to confirm the reliability of information. The results of this study showed that the recent fake news has been comprehensively created. The audiences thus are required to carefully consider and re-check the content with fake news investigation organizations. Therefore, online media literacy skills should be promoted among elderly people in dealing with fake news in their everyday life. Moreover, the quality of fake news investigation systems in Thailand should be enhanced to further protect elderly people from fake news.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาข่าวปลอมในแอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวปลอมที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 14 คน จากการเก็บข้อมูลข่าวปลอมในแอปพลิเคชันไลน์โดยใช้แนวคิดลักษณะของข่าวปลอม 7 รูปแบบ เป็นแนวคิดหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการเก็บรวบรวมเนื้อหาข้อความ ภาพนิ่ง คลิปเสียง วีดีโอคลิป ที่เป็นข่าวปลอม  ผลการวิจัยพบว่า ข่าวปลอมที่ผู้สูงอายุได้รับส่วนมากพบในรูปแบบของข่าวที่ไม่มีการระบุวันที่ เดือน ปี และไม่ระบุชื่อของผู้เผยแพร่ หากมีการระบุผู้เผยแพร่ จะเป็นการระบุชื่อของหน่วยงานองค์กร หรือเป็นการระบุในรูปแบบชื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือน่าเชื่อถือ ซึ่งข่าวปลอมที่ได้รับส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อมาจากไลน์กลุ่มของเพื่อน ที่อาจจะเป็นเพื่อนเก่าสมัยเรียน หรือเพื่อนร่วมงาน และกลุ่มของครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย ซึ่งเป็นการส่งในรูปแบบของข้อความหรือบทความ ที่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การเมือง ความเชื่อ หรือเป็นข้อความเตือนภัยอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ในหนึ่งข่าวสามารถเป็นข่าวที่มีเนื้อหาข้อความ รูปภาพ วีดีโอ หรือคลิปเสียง ในข่าวเดียวกัน ลักษณะของข่าวปลอมพบมากในเนื้อหาที่มีการกุขึ้นมา ที่เป็นการสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รองลงมาเป็นการแอบอ้าง โดยการอ้างชื่อหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ มักจะเน้นประโยคท้ายของข้อความว่า ควรส่งต่อ แชร์ต่อ หรืออย่าเก็บข้อมูลนี้ไว้คนเดียว มากไปกว่านั้นในเนื้อหาข่าวปลอมหนึ่งข่าวที่พบ มีมากกว่าหนึ่งลักษณะ เช่น เป็นเนื้อหาที่กุขึ้นมา และเนื้อหาแอบอ้าง ในข่าวเดียวกัน พบมากในเนื้อหาด้านสุขภาพในประเด็นของโรคระบาด การดูแลสุขภาพ หรือโภชนาการอาหารที่เกินจริง จากการที่ผู้วิจัยได้นำข่าวปลอมที่พบมาตรวจสอบกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และองค์กรที่ให้บริการตรวจข่าวลวง พบว่า บางข่าวไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันทีได้ จึงต้องหาเสริชข้อมูลจากเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อหาข้อมูลที่เท็จจริง ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ข่าวปลอมในปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นมาให้ดูเหมือนข่าวจริงมากยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ที่ได้รับ ไม่สามารถแยกออกได้ในทันที หรือหากใช้วิธีการตรวจข่าวปลอมจากหน่วยงานที่ให้บริการ ในบางข่าวก็ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงได้ทันที ดังนั้นผลการวิจัยนี้จะสามารถเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ จากอันตรายของข่าวปลอม รวมถึงการวางระบบหรือแนวทางการพัฒนาการตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้กับผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันสื่อ ไม่ให้หลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมต่อไปในอนาคต
Description: Master Degree of Communication Arts (M.Com.Arts)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/537
Appears in Collections:Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920362.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.