Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/534
Title: FACTORS INFLENCING  COVID - 19  CONTROL BEHAVIORS IN THE COMMUNITY  AMONG VILLAGE HEALTH  VOLUNTEERS.
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Authors: Minla Naknun
มินลา นาคหนุน
CHANANDCHIDADUSSADEE TOONSIRI
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัย
พฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
FACTORS
COVID-19 CONTROL BEHAVIORS
VILLAGE HEALTH VOUNTEERS
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: Village health volunteers are public health personnel who are essential for COVID-2019 control. This research aimed to identify factors influencing COVID-19 control behaviors in the community among village health volunteers. One hundred and fifty village health volunteers in Chon Buri province were recruited using the simple random sampling technique. Research instruments included questionnaires to gather data for demographic information, knowledge, perceived severity, perceived susceptibility, attitude, perceived policy, obtaining motivation, obtaining materials and equipment support, and COVID-19 control behaviors. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. The results revealed that the COVID-19 control behaviors of the participants were at a very good level (M = 4.34, SD = 0.75). The predisposing factors, reinforcing factors, and enabling factors that can significant predictors of COVID-19 control behaviors of the participants.The predisposing factors were knowledge (β = .578), perceived susceptibility (β = .179), reinforcing  factors were obtaining materials and equipment support (β = .183),and enabling factors were perceived policy (β = .148). These predictors could together explain 74.2 % of the variance in COVID-19 control behaviors in the community among village health volunteers (R2 = .742, p < .001). These findings suggest that nurse practitioners and other health care providers should apply these study results to develop interventions or programs to promote COVID-19 control behaviors in the community among village health volunteers by focusing on knowledge, perceived susceptibility, obtaining materials, and equipment support, and perceived policy.  
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีความสำคัญในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค การรับรู้ความรุนแรงต่อโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงานควบคุมโรค  ทัศนคติต่อโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค การรับรู้นโยบายในการดำเนินงานควบคุมโรค การได้รับแรงจูงใจในการดำเนินงานควบคุมโรค การได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานควบคุมโรค และ พฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.34, SD = 0.75) และปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม ปัจจัยเอื้อที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 4 ปัจจัย ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค (β = .578) การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงานควบคุมโรค (β = .179)  ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานควบคุมโรค ( β = .183) และปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้นโยบายในการดำเนินงานควบคุมโรค (β =.148) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 74.2 (R2 = .742,p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม/โปรแกรมเพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเน้นเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงานควบคุมโรค การได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานควบคุมโรค และการรับรู้นโยบายในการดำเนินงานควบคุมโรค
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/534
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920244.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.