Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/522
Title: FEMALE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE CHONBURI RAYONG
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
Authors: Anakaporn Choladda
อนรรฆพร ช่อลัดดา
SUMETH NGAMKANOK
สุเมธ งามกนก
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสตรี, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
LEADERSHIP / FEMALE ADMINISTRATORS / THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE CHONBURI RAYONG
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: This research was to study the level of leadership of female administrators in educational institutions. and to compare the leadership of female administrators in educational institutions under the Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong, classified by school size, education levels, work experience and academic positions. The sample group were 375 teachers in educational institutions with female administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong, The research instrument was a questionnaire which had the item discriminant index between .95-.96 and the confidence value (Cronbach’s Alpha) of the questionnaire was .96. Statistics used in the data analysis were mean , standard deviation , mean difference test using t-test and one-way analysis of variance (One-way ANOVA) when a difference was found, the Least Significant Difference (LSD) method was used to examine them in pairs at. It was found that:             1. Leadership of female administrators in schools under the Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong were at high level, both in overall and in individual aspects. The highest aspect was the followed by task-oriented leadership, participative leadership, authoritative leadership, supportive leadership and participative leadership.             2. The comparison of levels of leadership of female administrators in schools under the Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong, in education levels showed that there was no significant differences, when classified by teachers’ different school sizes was statistically significant difference at the level of .05, when classified by teachers’ work experience were significant different in the aspect of supportive leadership, and task-oriented leadership, and when the compare the leadership of female administrators classified by academic positions were significant different in the aspect of participative leadership at the level of .05  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา และเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูในสถานศึกษาที่มีผู้บริหารเป็นสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .95-.96 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t- test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า             1. ผลการศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวมและรายด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน และภาวะผู้นำแบบใช้อำนาจ             2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยรวม และด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านภาวะผู้นำแบบใช้อำนาจ และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า โดยรวมและด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านภาวะผู้นำแบบใช้อำนาจ ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/522
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63920308.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.