Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorGitirut Suwannarongen
dc.contributorกิติรัตน์ สุวรรณรงค์th
dc.contributor.advisorYUNEE PONGJATURAWITen
dc.contributor.advisorยุนี พงศ์จตุรวิทย์th
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2022-11-23T07:48:36Z-
dc.date.available2022-11-23T07:48:36Z-
dc.date.issued11/11/2022
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/517-
dc.descriptionMaster Degree of Nursing Science (M.N.S.)en
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)th
dc.description.abstractBullying behavior is most common problem in late school age children. It affects bullies and victims physically, mentally and socially. This predictive correlational research aimed to examine predicting factors of bullying behavior in late school age children. A stratified random sampling method was used to recruit 170 students from grade 5 and 6 in an extra large school in Primary Educational Service Area Chonburi Office 1. Data were conducted from November to December 2021. Research instruments consisted of a demographic record form, the Revised Thai Rosenberg Self-Esteem Scale, the violent media consumption questionnaire, the parenting styles questionnaire, the influence of peers with bullying behavior questionnaire and the bullying behavior questionnaire. Cronbach's alpha coefficients of all questions were .84, .70, .86, .77 and .93, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic and stepwise multiple regression analysis.                         The study results revealed that appropriate parenting style, violent media consumption,  influence of peers with bullying behavior and self-esteem could together explain variance of bullying behavior in these late school age children for 33.4 % (R2 = .334, p < .05). The appropriate parenting style was the best predictor (β = -.273, p < .001) followed by violent media consumption (β = .225, p < .01), influence of peers with bullying behavior (β = .200, p < .01), and self-esteem (β = -.179, p < .05), respectively.                         These findings suggest that nurses and healthcare personnel should promote appropriate parenting style, teach and advice school age children to avoid using social media with violence and friends with bullying behavior, and enhance their self-esteem in order to effectively prevent bullying behavior in late school age children.en
dc.description.abstractพฤติกรรมข่มเหงรังแกกันในเด็กวัยเรียนตอนปลายเป็นปัญหาที่พบมากในโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ข่มเหงรังแกผู้อื่นและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นในเด็กวัยเรียนตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 1 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จังหวัดชลบุรี จำนวน 170 ราย กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเด็กและครอบครัว แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการใช้สื่อที่มีความรุนแรง แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบสอบถามอิทธิพลจากเพื่อนที่มีพฤติกรรมข่มเหงรังแก และแบบสอบถามพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่น ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟาครอนบาค เท่ากับ .84 , .70, .86, .77 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                         ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเหมาะสม การใช้สื่อที่มีความรุนแรง อิทธิพลจากเพื่อนที่มีพฤติกรรมข่มเหงรังแก และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นในเด็กวัยเรียนตอนปลายนี้ได้ร้อยละ 33.4 (R2= .334, p < .05) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเหมาะสมเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (β = -.273, p < .001) รองลงมาคือ การใช้สื่อที่มีความรุนแรง (β = .225, p < .01) อิทธิพลจากเพื่อนที่มีพฤติกรรมข่มเหงรังแก (β = .200, p < .01) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (β = -.179, p < .05) ตามลำดับ                         ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมผู้ปกครองให้มีการอบรมเลี้ยงดูบุตรที่เหมาะสม สอนและแนะนำเด็กวัยเรียนให้หลีกเลี่ยงการใช้สื่อที่มีความรุนแรงและเพื่อนที่มีพฤติกรรมข่มเหงรังแก และส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นในเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นth
dc.subjectเด็กวัยเรียนตอนปลายth
dc.subjectBULLYING BEHAVIORen
dc.subjectLATE SCHOOL AGE CHILDRENen
dc.subject.classificationNursingen
dc.titlePREDICTING FACTORS OF BULLYING BEHAVIOR IN LATE SCHOOL AGE CHILDRENen
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นในเด็กวัยเรียนตอนปลายth
dc.typeTHESISen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62910131.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.